จดหมายข่าวประจำเดือนสิงหาคม 52

[wptab name=’จดหมายข่าวประจำเดือนสิงหาคม 52′]

aaa52 1จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่ชาติ ครบ 12 ปี เรายิ่งก้าวไปข้างหน้า ยิ่งมากปีเรายิ่งพัฒนาไปแนวทางที่มีคุณภาพ โดยเนื้อหาสาระในวารสารจดหมายข่าวฉบับนี้มากไปด้วยคุณภาพ เราสรุปยอดสมาชิกของเราครบ 12 ปีเรามีสมาชิกทั้งหมด 58 ฉบับ คณะกรรมการเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณแต่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ขอเรียนเชิญหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศมาเป็นสมาชิกของเราโดยติดต่อผ่านสำนักงานเลขา สำหรับเนื้อหาสำคัญที่เราก้าวเดินไปข้างหน้า

ขณะนี้เรานำรายละเอียดการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสภาการหนังสือพิมพ์ สมาคมนักข่าว กับกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งในอนาคตเราจะเดินหน้าทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ และความคล่องตัวของมวลสมาชิก นอกจากนั้นยังมีรายงานการเสวนากลุ่ม 12 ปี กับอนาคตการดูแลและควบคุมกันเองของสื่อไทย ปาฐกถาพิเศษ บทบาทสื่อกับความแตกต่างทางความคิดในสังคม ความคิดเห็น นายสัก กอแสงเรือง ต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์ ประกาศผลรางวัลหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดิเด่น สัมภาษณ์พิเศษ นายมานิตย์ สุขสมจิตร ที่ปรึกษาของเรา ภาพกิจกรรม ขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรม 12 ปีของเรา สุดท้ายคงจะเป็นการตอบจดหมาย อย่างไรก็ตามหากสมาชิกหรือผู้อ่านจะมีอะไรจะเสนอแนะการทำงานหรือการจัดทำหนังสือให้ส่งรายละเอียดมาได้ที่สำนักเลขาธิการ เราจะได้นำเสนอในคราวต่อไป

คณะผู้จัดทำ

[/wptab]

[wptab name=’สัมภาษณ์พิเศษ กาลามสูตร’]

สัมภาษณ์พิเศษ กาลามสูตร

คัมภีร์ข่าว…มานิจ สุขสมจิตร

สอดรับกับปาฐกถาธรรมของท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เป็นอย่างมาก กับการดำรงตนตามหลักกาลามสูตร ที่ได้มาแสดงธรรมเทศนาเอาไว้ในงานครบรอบ 12 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา กับบทสัมภาษณ์พิเศษที่จดหมายข่าวสภากาหนังสือพิมพ์ฯ ล้วงเอาสิ่งที่อยุ่ในกระเป๋าของนายมานิจ สุขสมจิตร ที่ปรึกษา และอดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ที่ไม่เคยได้เปิดเผยที่ไหนมาก่อนให้ได้ทราบกันในวันนี้
เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมาทราบว่าได้ร่วมฟังปาฐกถาธรรมของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ด้วย แล้วมีความเห็นต่อ หลักธรรมนั้นอย่างไร
เป็นปาฐกถาที่ดีมากที่ได้ฟังมาในรอบปี มีคติสอนใจหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่านเน้นว่าเราเอาความเชื่อเป็นหลักมากกว่าข้อเท็จจริง เพราะคนทุกวันนี้เชื่ออะไรกันไปโดยไม่ดูข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร เชื่อโดยไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ยึดหลักกาลามสูตรที่ท่าน ว.วชริเมธี เทศน์ไว้ สิ่งที่ท่าน ว.วชิรเมธีเทศน์ไว้ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับสื่อที่จะนำไปปฏิบัติ อย่างยิ่งในเรื่องของกาลามสูตร เรื่องของ ที่เราจะเชื่ออะไรสักอย่าง มันมีหลักในการพิจาณา คือกาลามสูตร 10 ประการ จะเป็นประโยชน์มากถ้าหากสื่อทำความเข้าใจใน เรื่องของกาลามสูตร และถือเป็นหลักปฏิบัติที่ท่านสอนว่า

  1. อย่าเชื่อฟังเพราะได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา อย่างนั้น
  2. เชื่อเพราะเขาพูดกันกระฉ่อน
  3. เชื่อเพราะกระทำสืบต่อๆ กันมา
  4. เชื่อเพราะว่าอยู่ในตำรา โดยไม่ไปหาข่าวเอาเองว่าข่าวนั้นจริงหรือไม่
  5. เชื่อตามตรรกะ
  6. เชื่อเพราะว่าหลักปรัชญาว่าอย่างนั้น โดยไม่ดูเหตุ ดูผล
  7. เชื่อตามสามัญสำนึกของคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
  8. เชื่อเพราะเขาสามารถทนฟังเราได้
  9. เชื่อเพราะคนพูด พูดน่าเชื่อถือ ฟังแล้วเข้าเค้าดีจึงเชื่อโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อนว่าจริงหรือไม่
  10. เชื่อเพราะว่าคนที่พูดนั้นเป็นสมณะ เป็นครูเรา เราก็เชื่อ

เพราะฉะนั้นการที่จะมาส่งข่าวหาข่าว ไปฟังใครเขาพุดมาก็ดี หากปฏิบัติตามหลักกาลามสูตรนี้ได้ก้จะเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ดี ขณะเดียวกันการออกความเห้นต่างๆ ถ้าหากยึดหลักนี้เราก็จวิเคราะห์ได้ถูกต้อง เพราะว่าข้อมูลบางอย่างมันเป้นข้อมุลเท็จ เป้นข้อมูลเพียงครึ่งเดียว เป็นข้อมูลที่คนพุดเจตนา ที่จะให้รับฟังข้อมุลเพียงครึ่งเดียว แล้วเราก็เอาไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อ การได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็จะวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ผิดๆ เพราะว่าเราไม่มีข้อมูลที่ถูกถ้วน และรอบด้าน เราเลยวิจารณ์แบบผิดๆ ไป อันนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เขาไม่พอใจ เพราะเราวิพากษ์วิจารณ์จากข้อมูลที่ผิด วิพากษ์วิจารณ์ที่มีความจริงเพียงครึ่งเดียว เรื่องนี้ผมคิดว่าเป้นเรื่องสำคัญมาก และคิดว่าเป้นเรื่องที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ น่าจะได้นำปาฐกถาของท่านว.วชริรเมธีมาพิมพ์แจกกันให้ทั่ว เพราะว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์มาก ผมฟังแล้วรู้สึกว่าเวลาที่ผมไปนั่งฟังอยู่เป็นเวลานาน

กาลามสูตรนี้เก็บไว้นานแล้วหรือยัง และเพราะอะไรถึงได้นำมาใช้ 
ผมใช้วิธีนี้มานานแล้ว เพราะว่าข้อมูลในโลกเรานี้มีคนแสดงข้อมูลอะไรหลายๆ อย่าง ด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าใครบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ หากเราไปฟังเขาเพียงครึ่งเดียวก็ใช้หลักาลามสูตรมาจับ เมื่อเรามีหลักอยุ่แล้วก็สามารถบอกได้ว่าข้อมูลนี้น่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร
เรื่องการทำงานสื่อจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่ใช่ใครพูดๆ มาก็ว่ากันไป หรือว่าถามข่าวโดยไม่ได้ศึกษาในเรื่องนั้น อย่างช่วงนี้ที่มีคนไปสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีว่า จะต่ออายุให้พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อให้ทำงานสอบสวนคดีคุณสนธิ ต่อได้หรือไม่ แล้วเป็นข่าวอยู่ได้ตั้ง 2 วัน เรื่องนี้หากคนทำข่าวมีความรู้หรือสนใจ ใฝ่รู้หน่อยก็จะเห็นว่าไม่มีกฎหมายอะไรที่จะมาต่ออายุได้ นายกก็ต่อไม่ได้ ถ้ารุ้อย่างนี้แล้วก้ไม่ต้องถามให้เสียเวลา คนอ่านข่าวก็เสียเวลา และทำให้คึนบางคนที่ไม่ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน เชื่อว่ามีการต่ออายุได้ แล้วทำไมนายกไม่ต่ออายุให้เขา จะมีคำถามตามมาอีก ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เกิดจากนักข่าวที่ไม่มีความรู้

หลักกาลามสูตรเป็นสิ่งที่คุณมานิจ พกเอาไว้ในกระเป๋าตลอดเวลาเลยหรือไม่ เพราะสังเกตเห็นหลายครั้งคุณมานิจมักจะล้วงสิ่งหนึ่งออกมาจากกระเป๋าเสื้อเสมอ 
แล้วมันตรงกับที่ท่านว.พูดหรือไม่ ซึ่งมันก็ต้องจดไว้เตือนความจำ เป็นเรื่องธรรมดา และผมไม่ได้จดเฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียวเท่านั้น แต่อะไรที่กลัวว่าจะลืม หรือสิ่งที่พูดไปแล้ว ถ้อยคำมันไม่ตรง จะทำให้คนเข้าใจไขว้เขวไปได้ ก็ต้องบันทึกไว้ จำได้หรือเปล่าครูสอนว่าจะต้องมีสุจิปุริ มันเป็นเรื่องที่ต้องจดจำ หากจำไม่ได้ก็ต้องจด

แสดงว่าสิ่งที่สงสัยว่าในกระเป๋าคุณมานิจคืออะไรนั้นหมายถึงกาลามสูตรจริง และนอกจากนั้นยังรวมไปถึงเรื่องทุกเรื่องที่มีประโยชน์ ที่สามารถนำไปปฏิบัติและแนะนำคนอื่นได้ด้วยเหมือนกัน 
ครับ ผมไปเห็นอย่างอื่น ที่ไหนพูดดีๆ อย่างเช่นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมจดไว้ และพูดบ่อยๆ เข้าก็จำได้ อย่างเช่น พระบรมราโชวาท ที่เราเห็นบ่อยๆ ทางสถานีโทรทัศน์บ่อยๆ “ในบ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ แต่ต้องป้องกันคนไม่ดีไม่ให้เข้ามาปกครองบ้านเมือง และส่งเสริมคนดีให้มีอำนาจ” พระเจ้าอยู่หัวสอนอย่างนี้ แต่เราไม่ค่อยได้จดจำกัน

ในฐานะที่เป็นวิทยากรด้วย ได้บอกเล่าเรื่องราวหรือนำหลักธรรมไปสอนนักข่าวรุ่นใหม่ด้วยหรือไม่/สอนอย่างไร 
ผมพูดมาเสมอ ก่อนที่จะได้ฟังท่าน ว.วชิรเมธีแล้ว แล้วท่านก็มาย้ำอีกทีหนึ่ง ผมไปสอนที่ไหนผมก็พูด วิธีการที่จะรับฟังข้อเท็จจริงให้เอาหลักกาลามสูตร 10 ข้อมาใช้ ผมพูดตลอดเวลา พูดมาหลาย 10 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาพูดตอนนี้ แงละตอนนี้ไม่ได้มีเพียงท่านว.วชิรเมธี ท่านเดียวเท่านั้น แต่เผอิญว่าท่านมาย้ำได้ถูกที่และจังหวะ ที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จัดขึ้นในวันนั้น เข้าไปเป็นการเตือนความจำอีกทีหนึ่ง และท่านก็มีตัวอย่างจากประสบการณ์ของท่าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มีความคาดหวังอย่างไรกับนักข่าวรุ่นใหม่ในการดำรงวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อช่วยเหลือสังคมต่อไป
ผมตั้งความหวังไว้ว่านักข่าวรุ่นใหม่จะช่วยทำสื่อให้เป็นสื่อที่เป็นธรรม ให้ข้อมูลถูกถ้วนรอบด้าน ไม่สร้างความกินแหนงแคลงใจ ไม่สร้างความแตกแยก ทั้งนี้และทั้งนั้นสื่อจะต้องเป็นสื่อที่มีคุณธรรมและยึดมั่นในหลักจริยธรรม ความจริงจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ 30 ข้อ ถ้าใครถือตามนั้นจะประเสริฐมาก และไม่ต้องกลัวเรื่องถูกฟ้อง เพราะถ้าทำตามนี้ทุกอย่างไม่มีใครมาฟ้องได้หรอก ถึงฟ้องก็ไม่ชนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อรุ่นใหม่ก็ศึกษา สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากอินเตอร์เนต เพราะฉะนั้นอินเตอร์เนตก็อย่าไปเชื่อว่าเกิดขึ้น มันมีอยุ่ในอินเตอร์เนตแล้วก้เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องก็อย่าไปเชื่อ ต้องตรวจสอบตรวจทานหลายๆ ด้าน

บางแห่งเขาสอนนักหนังสือพิมพ์รุ่นใหม่ไม่ใช่เพียง ดับเบิลเช็ค แต่ต้อง ทริปเปิลเช็ค หมายความว่าตรวจสอบ 2 ครั้งไม่พอต้องตรวจสอบ 3 ครั้ง 3 แหล่ง ถึงจะยืนยันข้อมูลได้ถูกต้อง เว้นแต่ข้อมูลบางอย่างที่เรารู้แล้วว่าถูกต้องอย่างแน่นอนก็สามารถเชื่อได้ แต่บางอย่างที่คนพูดๆ มาต้องตรวจสอบให้มาก เพราะบางทีเราตรวจสอบเพียง 2 ครั้ง แต่บังเอิญว่าการตรวจสอบนั้นเป็นการตรวจสอบจากคนที่ได้ยินมาจากแหล่งข่าวเดียวกัน เขาก้ต้องว่าเป็นอย่างนั้น แต่หากเราไปถามจากแหล่งอื่นๆ อีกครั้งหนึ่งก็จะได้ความจริง เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบให้มากจะมาอ้างว่าไม่มีเวลาผมว่ามันอ้างไม่ขึ้น


คอลัมน์ “คิดจากข่าว รู้ทันสื่อ”

จากเคฮิโงะ..น้องเพชร.. ถึงงูหัวคน
บทเรียนสื่อ ที่ไม่เคยได้เรียน ไม่เคยได้จำ!

โดย ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ
อนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมจริยธรรม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีกระแสข่าวรายวันที่มี “คุณค่า” แย่งชิงพื้นที่ข่าวของสื่อกระแสหลัก (Main Stream Media) อยู่หลายข่าว น่าสังเกตว่าเป็นข่าวที่มีความเกี่ยวข้องกับ “ความสนใจของมนุษย์ปุถุชน” (Human Interest) แทบทุกข่าว

ไม่ว่าจะเป็นข่าวกรณี เคฮิโงะ เด็กลูกครึ่งไทยญี่ปุ่นที่วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร ที่สื่อกระแสหลักของไทยนำเสนอจนลืมนึกไปว่าประเทศเรามีข้อตกลงสิทธิเด็กและสิทธิมนุษยชนไว้แล้ว กรณีน้องเพชร สรภพ ลีละเมฆินทร์ ที่สื่อไทย มีประเด็นทางลบขุดคุ้ยมานำเสนอทุกปี เมื่อถึงวันรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์ ในช่วง วันที่ 13 – 15 เดือนเมษายน แม้กรณีข่าว “งูหัวคน” ก็งมงายไม่เลิก ทั้งหมดนี้ คือ บทเรียนที่นักวิชาชีพสื่อ และคนรับสื่อ ไม่เคยได้รับบทเรียนอะไรเลย และพร้อมจะลืมได้ทุกเวลา

ในเมื่อดักสื่อไม่ได้ ก็อาจจำเป็นต้องหาทางออกให้กับสังคม ขณะนี้ มีความเคลื่อนไหว จากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) ในสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนักวิชาการนิเทศศาสตร์บางส่วน เพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการ จัดรายวิชาสื่อศึกษาในสัดส่วน 70 เปอร์เซ็นต์ ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จึงน่าสนใจว่า วิชาสื่อศึกษา (Media Study) คืออะไร วิชาสื่อศึกษามีสอนกันในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป สแกนดิเนเวีย แต่อาจเรียกต่างๆ กันไป เช่น Media Education, Media Studies, Media Literacy, Communication Studies หรือ Film Studies เป็นต้น แม้มีจุดเน้นเชิงเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนแตกต่างกันไปบ้าง หากแต่มีเป้าหมายที่เหมือนกันคือ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถรู้ทันสื่อ

คงมีผู้สงสัยว่า แล้ววิชาสื่อศึกษาที่ว่านี้มีความแตกต่างกับวิชานิเทศศาสตร์ หรือสื่อมวลชน ที่มีการเปิดสอนระดับชั้นปริญญาในหลายๆ มหาวิทยาลัย และกำลังได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ในเวลานี้สักกี่มากน้อย….

เป้าหมายของการศึกษาวิชาสื่อศึกษากับการเรียนนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัย มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ

  • วิชาสื่อศึกษาที่เสนอนี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้วิธีการอ่านสื่อ ฟังสื่อ รับชมสื่อ โดยที่สามารถแยกแยะด้วยตนเองว่าสิ่งใด คือ ข้อเท็จจริง สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งใดเป็นความคิด ความเห็น เพื่อมิให้เป็นเหยื่อความชั่วร้ายในผลกระทบมุมมืดจากสื่อ
  • มิได้เรียนเพื่อออกไปผลิตสื่ออย่างที่มหาวิทยาลัยที่มีคณะนิเทศศาสตร์มุ่งเน้น การศึกษาเรื่องสื่อเพื่อการผลิตสื่อโดยขาดการให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคนผลิตสื่อที่ขาดมิติอิทธิพลของสื่อต่อผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ชม สังคมก็จะได้สื่อมวลชนที่ต่อมจริยธรรมสำนึกบกพร่องอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อธิบายกันอย่างไรก็ไม่เข้าใจกันหรอก เพราะเป้าหมายแตกต่างกัน

การเรียนการสอนเกี่ยวกับสื่อศึกษาในบ้านเมืองเรา เป็นเพียงเฉพาะวิชาเลือก หรือวิชาประกอบเท่านั้น ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตสื่อศึกษาในแนวทางนี้ ให้ออกไปทำงาน “รู้ทันสื่อ” โดยตรง แม้บางมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรสื่อศึกษาแล้วก็ตามแต่เป็นการศึกษาขั้นสูงที่ยังแพร่หลายไม่มากนัก

สื่อศึกษาสามารถเป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต การเรียนรู้นอกห้องเรียนย่อมเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนทุกประเภทอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือเล่ม เป็นต้น การทำความเข้าใจแนวคิดรู้เท่าทันสื่อต่อปรากฏการณ์การสื่อสารในสังคม ทั้งการสื่อสารในสังคมเดียวกัน และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมกับต่างประเทศนั้น มีความหลากหลายมิติความสนใจของผู้ศึกษาด้วย ตัวอย่างมิติการศึกษาเกี่ยวกับ

การรู้เท่าทันสื่อ ได้แก่

  1. เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม กล่าวคือ การศึกษาเกี่ยวกับสื่อ หรือการส่งเสริมให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อในแต่ละสังคม ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เพราะแท้จริงแล้ว เนื้อหาในการสื่อสารเป็นเรื่องราวของสังคมที่แตกต่างกันไปนั่นเอง
  2. เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สื่อมวลชนของบุคคลและสังคม หลังจากมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อมวลชนอย่างพอเพียงแล้วผู้รับสื่อสามารถวิพากษ์วิจารณ์สื่อได้อย่างมีหลักการ
  3. เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะพื้นฐานของผู้รับสื่อควบคู่ไปกับการรู้เท่าทันสื่อ เช่น ทักษะการอ่าน ทักษะการคิด ทักษะการเขียน ทักษะการมองเห็น และทักษะการพูด เป็นต้น
  4. เกี่ยวกับปรัชญาการค้นหาความจริงในสังคมหนึ่งๆ โดยการทำความเข้าใจว่า ความจริงแท้คืออะไร และเหมือนหรือต่างกับความจริงในสื่อมวลชนอย่างไร หลังจากได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความจริงของสื่อมวลชน
  5. เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะในท่ามกลางสังคมอุดมปัญญา เช่น รู้จักตีความ รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักเลือก รู้จักใช้ ข้อมูลและข่าวสาร เป็นต้น
  6. เกี่ยวกับการสื่อสารไร้พรมแดนที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) เกิดประเด็นศึกษาตามมาในแง่ของการครอบงำด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ ที่เป็นต้นทางการสื่อสารต่อประเทศที่มีการรับสื่อมากกว่าผลิตสื่อในเวทีโลก

จึงขอเสนอกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนวิชาสื่อศึกษาขึ้นในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาพร้อมกันทั่วประเทศ เพราะหนหน้าเมื่อมีข่าวแบบเคฮิโงะ ลูกเพชร งูหัวคน คนไทยจะได้เข้าใจสื่ออย่างเท่าทันเสียที

[/wptab]

[wptab name=’สภาการ นสพ. บุกแจงอนุ กมธ.พัฒนาสังคม’]

สภาการนสพ.บุกแจงอนุ ก.ม.ธ.พัฒนาสังคม

ย้ำจุดยืนสื่อต้องตีแผ่ความจริง
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พร้อมด้วยนายสมาน สุดโต กรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางป้องกันการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนที่ไม่เหมาะสม

นายอนันท์ วรธิติพงศ์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า การเสนอข่าวสารไม่เหมาะสมออกไปสู่สังคม ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ทำให้เด็กเยาวชน และสังคมเกิดพฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้คณะอนุกรรมการฯ จึงมีความเป็นห่วงใน 4 ประเด็นคือ

  1. การเสนอข่าวสารให้รายละเอียดเหตุการณ์มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวอาญากรรม เช่น กรณีฆ่าตัวตาย การวางแผนปล้น กรณีข่มขืน ทำให้เห็นว่าภาพว่าเป็นอย่างไร ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบ หรือทำให้คนไม่รู้ได้รู้และอยากทำตาม
  2. การนำเสนอในเรื่องที่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ เช่น เรื่องความเชื่อ ทำให้สังคมตื่นตระหนก
  3. เรื่องที่ไม่ดีเอามาตีแผ่ คนที่ไม่รู้ก็ทำให้รู้ไปด้วย เช่นข่าวไฮโลบนมือถือ ทำให้คนที่ไม่รู้ได้รู้ และกระตุ้นให้อยากเล่น นอกจากนี้ยังเหมือนการประชาสัมพันธ์สินค้านั้นด้วย
  4. เรื่อง “คลิปวิดีโอ” ที่ผ่านมาสังคมมักมองคำว่า “คลิปวิดีโอ” ไปในทางลบ ทำให้คลิปวิดีโอที่เป็นเรื่องดีๆ ไม่กล้าเรียกว่า “คลิปวิดีโอ” ไปด้วย ดังนั้นจะมีวิธีการเสนอข่าวอย่างไรให้สังคมดี และพัฒนาได้ไกลกว่านี้ เพราะตนมีความเชื่อสื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคม ถ้าสื่อดึงพฤติกรรมของสังคมไปในทางที่ไม่ดีแล้ว สังคมก็จะจมอยู่อย่างนั้น ทั้งนี้อนุกรรมการยินดีร่วมเป็นเครือข่ายตรวจสอบจริยธรรมการเสนอข่าวของสื่อมวลชน ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ด้วย

ด้านนายสมาน สุดโต กรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า สื่อมีหน้าที่ให้ความรู้ ให้การศึกษา บอกความเคลื่อนไหว ของสังคม เอาความจริงมาเปิดเผย ช่วยจรรโลงสังคม และเปิดโปงการทุจริตต่างๆ สังคมเป็นอย่างไรหนังสือพิมพ์จะปรากฎณ์ออกมาอย่างนั้น ภายใต้การควบคุมสังคมด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์เพื่อใม่ให้ปรากฎณ์สิ่งเลวร้ายบนหน้าหนังสือพิมพ์ขึ้น อย่างไรก็ตามหากเห็นว่าหนังสือพิมพ์เสนอข่าวไม่เหมาะสม สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะดำเนินการทันที นอกจากนี้ประชาชนสามารถร้องเรียนการเสนอข่าวมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้

นายสมาน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามในกรณีเหตุการณ์อาชญากรรม การข่มขืน เจ้าหน้าที่ตำรวจทำแผนประกอบการโดยละเอียด และต่อกรณีอื่นๆ การที่ตำรวจบอกรายละเอียดเกินไป เช่นมูลค่ายาเสพติด เป็นหนึ่งประเด็นที่จูงใจให้คนอยากค้ามากขึ้น หากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจห้ามไม่ให้มีการทำข่าวแล้ว แม้สื่อมวลชนจะมีเสรีภาพอย่างไร ก็ต้องเคารพในการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมองว่าการที่สังคมสะท้อนออกมาลักษณะนี้ เป็นสังคมบกพร่องทางด้านจริยธรรม หากแต่ละคนมีจริยธรรม ยึดถือในศีล 5 เท่านั้นสังคมก็จะเจริญขึ้น

นอกจากนี้ นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า ตามหลักการด้านวิชาการได้แบ่งหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ และหนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ และการเสนอข่าวของสื่อมวลชนถือเป็นการตีแผ่ความจริงในสังคม เสนอข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดความตื่นตัว ยกตัวย่างเช่นกรณี การเสนอข่าวโทรศัพท์มือถือสามารถเล่นพนันได้นั้น อย่างน้อย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังได้ทราบและส่งหนังสือขอความร่วมมือไปยังบริษัทโทรศัพท์มือถือนั้นได้ เป็นต้น ส่วนกรณีการเสนอข่าวด้านอื่นๆ นั้น ปัจจุบันมีสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ดูแลอยู่ ซึ่งได้ออกแนวปฏิบัติในหลายๆ เรื่อง เช่น แนวปฏิบัติการเสนอข่าวและภาพข่าวผู้หญิงและเด็กถูกละเมิดทางเพศ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ อย่างไรก็ตามในการเสพข่าวสารสังคมต้องมีวิจารณญาณด้วย

นางสาวอรุณโรจน์ เลี่ยมทอง อนุกรรมการฯ กล่าวว่า ตนเองในฐานะสื่อมวลชนทางด้านเด็ก และเคยทำงานด้านข่าวมา มองว่าการเสนอข่าวของสื่อมวลชนจะเป็นไปตามความต้องการของสังคม กับความต้องการของตลาด และต้องเสนอให้แตกต่างจากของสื่ออื่นๆ แต่ภูมิคุ้มกันทางด้านสติปัญญาของคนไทย ของเยาวชน ของคนต่างจังหวัด ต่อข่าวสารบางอย่างยังมีน้อยเกินไป หากสังคมต้องการข่าวดีๆ หนังสือพิมพ์ก็จะหาสิ่งดีๆ จรรโลงสังคม ดังนั้นต้องบูรณาการโดยการสร้างความรู้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่สังคม เพื่อที่สังคมจะสามารถรู้ว่าข่าวอะไรเป็นข่าวไร้สาระ

[/wptab]

[wptab name=’สัก ย้ำ! คน นสพ. ต้องเคารพกติกาวิชาชีพ’]

สัก” ย้ำ! คนหนังสือพิมพ์  ต้องเคารพกติกาวิชาชีพ

ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อเป็นการควบคุม ดูแลกันเองโดยตราข้อบังคับจริยธรรมไม่มีกฎหมายมารองรับ ทำให้หลายครั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ถูกมองว่าเป็นเพียงเสือกระดาษไม่สามารถดำเนินการ หรือจัดการขั้นเด็ดขาดกับเหลือบของวงการหนังสือพิมพ์ได้อย่างจริงจัง

นายสัก กอแสงเรือง ปัจจุบันเป็นรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ คนที่ 2 และเป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องราวรร้องทุกข์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมาย มองว่าด้วยลักษณะองค์กรของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมีความแตกต่างจากสภาทนายความ เพราะสภาทนายความเป็นองค์กรที่มีกฎหมายรองรับให้เป็นวิชาชีพ คนที่จะเป็นทนายความต้องมาเข้าอบรม ผ่านเกณฑ์แล้วรับจึงได้รับใบประกาศณียบัตร จากนั้นจึงไปขอจดทะเบียนเป็นทนายความได้ ส่วนมารยาทของทนายความจะเข้มข้นตามกฎหมายว่า คนที่ทำผิดมารยาทได้รับการลงโทษว่ากล่าวตักเตือน หรือห้ามประกอบวิชาชีพทนายความไม่เกิน 3 ปี หรือขับออกจากวิชาชีพทนายความไปเลย

แต่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ เป็นเรื่องที่ควบคุมกำกับดูแลกันเอง โดยความสมัครใจกันเองของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เข้ามาลงสัตยาบรรณก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ยอมรับกฎกติกา และตราข้อบังคับจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับและใช้ร่วมกันมา เพื่อให้เป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของสิทธิเสรีภาพที่ควบคู่กับความรับผิดชอบของสื่อมวลชน ทั้งนี้ตนเพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการยังต้องศึกษาข้อมูลอีกมาก ต้องดูวิธีการ

อย่างไรก็ตาม คิดว่ามาตรการการดุแลกันเองของคนในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ รวมทั้งผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทุกคนต้องยอมรับกฎกติกา และรักษาคุณภาพมาตรฐานของจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ร่วมกัน และปฏิบัติตามคำแนะนำ คำตักเตือน หรือสิ่งที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ส่งสัญญาณเตือนออกไปเพื่อให้พิจารณาลงโทษกันเองของแต่ละองค์กร หากสามารถทำได้อย่างนี้คนที่ทำผิดอาจจะถูกห้ามไม่ให้ทำหน้าที่หรือถูกขับออกจจากงานนั้นก็สามารถจะกลั่นกรองคนดีได้

และอยากจะให้ทำความเข้าใจอีกด้วยว่าในสิ่งที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะทำนั้นเป็นสิ่งที่เป็นผลประโยชน์กลับไปสู่หนังสือพิมพ์ในภาพรวม หากทำได้ดี เป็นที่ยอมรับจะช่วยลดการฟ้องร้องของผู้เสียหายและผู้เกี่ยวข้อง ถ้าหากไม่ยอมรับกฎกติกาและไม่ทำตามส่วนนี้ ผู้เสียหายก็จะใช้สิทธิทางศาล และไม่ใช่เฉพาะคนที่ทำละเมิด คนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย คนที่ฝ่าฝืนจริยธรรมเท่านั้น เจ้าของ นายจ้างก็ต้องถูกฟ้องไปด้วย ตรงนี้เป็นการตรวจสอบขั้นสุดท้าย ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไม่ต้องการเกิดการตรวจสอบขั้นสุดท้ายมากมาย ดังนั้นจึงเห็นว่าคนหนังสือพิมพ์ต้องยอมรับกฎกติกา รักษามาตรฐานกันเอง และกำจัดคนที่ไม่ดีออกจากวงการ อันถือเป็นเป้าหมายสูงสุด

เรียบเรียงจากการแสดงความคิดเห็นของนายสัก กอแสงเรือง รองประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนที่ 2 ในช่วงถามตอบในรายการ เสวนากลุ่ม “12 ปีสภาการหนังสือพิมพ์ฯ : อนาคตการกำกับดูแลตัวเองของสื่อไทย” เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ต่อกรณีบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ในฐานะผู้ดูแลด้านจริยธรรมสื่อมวลชน

[/wptab]

[wptab name=’รางวัลจริยธรรมดีเด่น 2552′]

รางวัลจริยธรรมดีเด่น 2552 สื่อภูมิภาคคว้าเกือบเกลี้ยง

คณะอนุกรรมการส่งเสริมจริยธรรม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดโครงการประกาศเกียรติคุณ “หนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพดีเด่น” ขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยได้รับความร่วมมือจากโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม หรือ Media Monitor เพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวหน้า 1 และการตีพิมพ์โฆษณาของหนังสือพิมพ์ภาษาไทย ทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาคแยกเป็น 3 ประเภทคือ 1. หนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 15 ฉบับ ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2552 รวมระยะเวลา 1 เดือนเต็ม 2. หนังสือพิมพ์ราย 3 วันและรายสัปดาห์ รวม 7 ฉบับ ศึกษาระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2552 รวมระยะเวลา 2 เดือนเต็ม และ 3. หนังสือพิมพ์ราย 10 วัน/15 วันและรายเดือนรวมจำนวน 9 ฉบับ ศึกษาระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2552 รวมระยะเวลา 3 เดือนเต็ม

ทั้งนี้ ในการศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว คณะผู้ศึกษาได้ยึดหลักจริยธรรมวิชาชีพที่ระบุไว้ในข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2541 จำนวน 10 ข้อ (จากทั้งหมด 30 ข้อ) อาทิ การไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระของข่าวจนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว การไม่เสนอข่าวด้วยความลำเอียงหรือมีอคติ การเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริงของฝ่ายตน และการทำให้เกิดความชัดเจนกรณีตีพิมพ์ข้อความโฆษณาแอบแฝงที่มาในรูปของการเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ เป็นต้น

ผลจากการศึกษาพบว่ามีหนังสือพิมพ์ที่ผ่านการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และมีการนำเสนอข่าว ภาพข่าว และข้อความโฆษณาที่อาจเข้าข่ายละเมิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ข้างต้น น้อยที่สุด สมควรได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “หนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพดีเด่นประจำปี 2551” ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน รางวัลดีเด่นคือ หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล คือหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ จังหวัดเชียงใหม่ และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ประเภทหนังสือพิมพ์ราย 3 วันและรายสัปดาห์ หนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ จังหวัดสงขลา ได้รับรางวัลดีเด่น ส่วนรางวัลชมเชย มี 2 รางวัล คือ หนังสือพิมพ์สมิหลาไทม์ จังหวัดสงขลา และหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

ส่วนผลการตัดสินประเภทหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน/15 วัน หรือรายเดือน พบว่าหนังสือพิมพ์เสียงสาริกา จังหวัดนครนายก ได้รับรางวัลดีเด่น ด้านหนังสือพิมพ์สมาร์ทนิวส์ จังหวัดยะลาและหนังสือพิมพ์ประชามติ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลชมเชย

[/wptab]

[wptab name=’12 ปี สภาการหนังสือพิมพ์’]

เสวนากลุ่ม

“12 ปี สภาการหนังสือพิมพ์ฯ: อนาคตการกำกับดูแลตัวเองของสื่อไทย”

เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ความฝันของคนในวงการหนังสือพิมพ์ที่ประสงค์จะให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลกันเอง และได้ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติขึ้นมา โดยมีเสาเอกเป็นจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และเมื่อครบ 12 ปีในวันนี้สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้เชิญนายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน นายสุนทร จันทร์รังสี บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน และนายไพศาล ศรีจรัสจรรยา ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอ็มที มัลติมีเดีย จำกัด มาร่วมเสวนาเพื่อสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับบทบาทการกำกับดูแลกันเองของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ในวันนี้และในอนาคต โดยมีนายกิตติ สิงหาปัด ผู้ประกาศข่าว รายการข่าว 3 มิติ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยนายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน กล่าวว่า  เมื่อปี 2540 ประเทศไทยได้รับการปฏิรูปครั้งใหญ่ใน 3 ด้านคือ การปฏิรูปทางการเมือง ปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และปฏิรูปการศึกษา ส่วนวงการสื่อได้ทำการปฏิรูป และตั้งเป็นสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ปัจจุบันมีอายุ 12 ปี จากพัฒนาการที่ผ่านมาในเรื่องการควบคุมดูแลกันเอง และการรับเรื่องร้องเรียนแม้จะยังไม่สามารถทำได้ครบ เต็มตามความคาดหวังของสังคม เพราะการดูแลกันเอง โดยยึดหลักจริยธรรมของหนังสือพิมพ์เป็นกรอบปฏิบัติ จึงขึ้นอยู่กับสำนึกของแต่ละคนที่ต้องรู้ว่าที่ถูกที่ควรเป็นอย่างไร สิ่งไหนควรหรือไม่ควรทำ ซึ่งที่ผ่านมาสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้ใช้หลายมาตรการในการควบคุม เช่น การให้สังคมดูแล ลงโทษ การตักเตือนโดยแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการ มีผลสะท้อนให้สื่อมวลชนสามารถควบคุมดูแลกันได้เอง แม้จะยังไม่ถึงระดับที่เป็นความคาดหวังของสังคม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าสื่ออยู่ในกรอบที่มีความชอบธรรม และได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากการที่สื่อดูแลกันเองแล้วสังคมยังต้องช่วยตรวจสอบสังคมด้วยในบางเรื่องที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไม่สามารถทำได้

“สังคมต้องช่วยด้วย อย่าคาดหวังว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะทำได้ บางครั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ อาจจะเอื้อมไปไม่ถึง แต่วุฒิภาวะของมวลชนต่างหากที่จะช่วยควบคุมในเรื่องเหล่านี้ได้” นายเกียรติชัยกล่าว

ที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน ยังมองว่าจะต้องสร้างองคาพยพให้เข้มแข็ง และสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง การสร้างสังคมประชาธรรม โดยอาศัยสื่อมวลชนที่มีความเป็นธรรมาภิบาลทำความจริงมาให้ปรากฎ เพราะฉะนั้นเราเป็นกลไลสำคัญ แม้ในบางกรณีสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไม่สามารถทำได้อย่างที่เขาคาดหวังแต่ไม่ได้เกินกำลังการปรับปรุงแก้ไขของคณะกรรมการชุดใหม่ ที่กำลังคิดจะปรับปรุงแก้ไขให้ดี ยกระดับมาตรฐาน ยกระดับของสังคมให้เห็นว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สามารถเป็นหลักได้ในสังคมที่ขณะนี้ ปัจจุบันคณะกรรมการมีแนวคิดในการร่วมมือกับมีเดียมอนิเตอร์เพื่อช่วยเรื่องการติดตามตรวจสอบในเรื่องที่ละเมิดจริยธรรมของสื่อ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แล้วแจ้งมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อดำเนินการต่อ

ด้านนายสุนทร จันทรรังสี บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน กล่าวว่า ประชาชนทั่วประเทศรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และสื่ออินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคหลายคนเข้ามาเป็นกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ยังสามารถช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เป็นการทำหน้าที่ในการดูแลกันเอง โดยอาศัยพลังของประชาชนในการกำกับดูแลถือเป็นโทษทางสังคม เป็นสำนึกของแต่ละคน เมื่อถูกติติง ก็จะต้องเร่งปรับปรุงตนเอง และไม่กระทำซ้ำ แต่ยังมีบางครั้งที่เมินเฉย ตรงนี้พลังของสื่อมวลชนจะเข้ามากำกับดูแล และหันหลังให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น

“ต้องบอกตรงๆ ว่าไม่สามารถควบคุมเขาได้ ดังนั้นจึงบอกว่าหนังสือพิมพ์ที่เข้ามาเป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ต้องยอมรับหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์เปรียบเสมือนอาหารและยาที่ผ่านคณะกรรมการหรือ อย.แล้ว สามารถบริโภคได้โดยมีอันตรายน้อยที่สุด หรือไม่มีอันตรายเลย หากหนังสือพิมพ์ที่ไม่เข้าสู่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ เขาก็อาจจะโลดแล่นไปตามทางที่ไม่ดี”

นอกจากนี้บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์โคราชรายวัน ยังได้ยกตัวอย่างกรณีเรื่องร้องเรียนเมื่อหลายปีก่อน ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองท่านหนึ่งที่ต้องการมีชื่อเสียงจึงมาเอาใจผู้สื่อ ทำให้ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งเรียกร้องรถยนต์ จากนักการเมืองคนดังกล่าว กรณีนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนเรื่องมาถึงสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าผู้สื่อข่าวคนนั้นได้กระทำผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพจริง ดังนั้นสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงรายงานไปยังหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดเพื่อให้พิจารณาลงโทษ ซึ่งทางต้นสังกัดได้ ปลดผู้สื่อข่าวคนนั้นออกจากการเป็นพนักงานทันที นับเป็นการดูแลกันเองที่ได้ผลเป็นอย่างมาก

นายสุนทร กล่าวด้วยว่า การร้องเรียนมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สามารถทำได้หลายวิธีคือ ประชาชนร้องเรียนเข้ามา ผู้สื่อข่าวร้องเรียนกันเอง และการที่คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ หยิบยกเรื่องที่เห็นว่าเข้าข่ายละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ขึ้นมาพิจารณาได้ทันที

ด้านนายไพศาล ศรีจรัสจรรยา ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอ็มที มัลติมีเดีย จำกัด มองว่า เมื่อ 12 ปีที่แล้ว รัฐมีความพยายามที่จะเข้ามาควบคุมสื่อ แต่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมองว่า จะเป็นการดีที่สุดหากสื่อสามารถดูแลกันได้เอง จึงทำให้มีการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติขึ้นมา ภายใต้โครงสร้างและกลไกที่คิดว่าน่าจะเพียงพอแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ได้ทำเต็มที่หรือไม่ เพราะจากที่สังเกตการที่มีผู้ร้องเรียนเข้ามามีปริมาณน้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่อปี 2550 มีกรณีร้องเรียนเข้ามา 9 เรื่อง ปี 2551 มีเรื่องร้องเรียน 7 เรื่อง ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนเพียง 2-3 เรื่อง น้อยลงไปกว่าที่ผ่านจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าสาเหตุที่ทำให้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาน้อยเป็นเพราะหนังสือพิมพ์มีการยกระดับการรายงานข่าวที่ดีขึ้น หรืออาจเป็นเพราะประชาชนไม่รู้จัก หรือไม่มั่นใจกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ดังนั้นสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ต้องพิจารณาสาเหตุให้ถูกต้องก่อนจะเดินหน้าต่อไป

ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอ็มที มัลติมีเดีย จำกัด กล่าวต่อว่า อย่างไรก็นตามยังมีตัวอย่างเรื่องร้องเรียนที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้ตีพิมพ์ เปิดโปง กล่าวหา โจมตี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่าไม่จงรักภักดี ด้วยการตัดต่อภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากภาพของเด็กไทยชนะการประกวดได้รับรางวัลและเป็นข่าวหน้าหนึ่งหลายฉบับ ผลจากการร้องเรียนครั้งนั้น ก่อนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องรางร้องทุกข์จะพิจารณาตัดสิน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งตระหนักดีว่าได้กระทำการที่ไม่เหมาะสม จึงแสดงความรับผิดชอบด้วยการเขียนบทนำเพื่อขอโทษคนทั้งประเทศ ถือเป็นการกระทำที่ดีมาก และต่อมาเมื่อปี 2551 เป็นกรณีที่ผู้สื่อข่าวร้องเรียนกันเองแม้ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โต แต่เป็นเรื่องที่แมลงวันควรจะตอมแมลงวันบ้าง คือ กรณีที่ผู้สื่อข่าวท่านหนึ่งร้องเรียนเข้ามาแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นแกะดำในกลุ่มเพื่อน  ว่ามีผู้สื่อข่าวไปเรียกรับเงิน จากภาครัฐที่จัดไปดูงานต่างประเทศ ดังนั้นสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาไปตามขั้นตอน โดยมีข้อสรุปให้จัดทำแนวปฏิบัติ “การรับเชิญไปทำข่าวในประเทศและต่างประเทศ” เพื่อให้เป็นแนวทางการทำงานที่ใช้กันทั่วไป แต่จะหวังให้ไม่ทุกคนปฏิบัติตามทั้งหมดก็เป็นเรื่องยาก เพราะแม้แต่กฎหมายอาญาที่มีบทลงโทษก็ยังมีผู้ฝ่าฝืน

นอกจากนี้นายไพศาล ยังกล่าวด้วยว่า การที่ยกตัวอย่างขึ้นมา ไม่ใช่ให้ปฏิเสธไปร่วมงานทั้งหมด แต่เพื่อให้มีการดำเนินการให้ถึงที่สุด แต่สังคมเมืองไทยทำอย่างนั้นไม่ได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป และการค่อยเป็นค่อยไปจากเมื่อ 12 ปีที่แล้วนับว่ามาได้ถูกทาง แม้กลไกที่มีอยู่อาจจะทำไม่ได้ในทันที หรือแม้กระทั่งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีมติออกไปแล้ว ไม่ได้รับความร่วมมือกับสมาชิกในการเผยแพร่ต่อเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะพยายามที่จะปิดเรื่องให้เงียบ และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็อย่าทำดีกว่า เพราะสื่อได้ยอมรับร่วมกันแล้วว่าจะควบคุมกันเอง โดยไม่ต้องการอำนาจรัฐเข้ามาควบคุม และที่เสนออย่างนั้นไม่ได้ต้องการให้โด่งดังเป็นข่าวหน้า 1 แต่เพราะว่าต้องการสร้างความตื่นตัว หากถามชาวบ้านก็จะพอรู้จักสภาการหนังสือพิมพ์ฯ บ้าง รู้จักก็ต้องใช้ แต่ทำไมถึงไม่มีคนใช้บริการสภากาหนังสือพิมพ์ฯ เลย ดังนั้นเราจึงต้องค้นคว้า วิจัย

[/wptab]

[wptab name=’ประฃาธิปไตย เห็นต่างได้ไม่ใช้ความรุนแรง’]

ประชาธิปไตย เห็นต่างได้ไม่ใช้ความรุนแรง

เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทยฯ ร่วมรณรงค์ “ประชาธิปไตย  เห็นต่างได้ไม่ใช้ความรุนแรง” ธีรยุทธ ชี้ สังคมจะสงบสุขได้  ต้องชื่นชม ความแตกต่าง  หวังสร้างเยาวชนเป็นกำลังหลักแนวคิดประชาธิปไตยแก้ปัญหาความขัดแย้ง

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา เวลา 9.30 น. ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ดอกไม้บานหลากสีที่กรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจจำนวนมากอาทิขบวนรณรงค์ “แต้มสีดอกไม้บานทั้งแผ่นดิน” การจัดประกวดวาดภาพ “ดอกไม้บานหลากสีที่กรุงเทพฯ” โดยมีนักเรียนนักศึกษาชั้นมัธยมต้น มัธยมปลาย และอุดมศึกษาเข้าร่วมประกวดกว่า 300 คน

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กล่าวเปิดงานว่า กิจกรรมที่เครือข่ายดำเนินการในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่นำประชาธิปไตยมาสื่อสารผ่านงานศิลปะ และการที่เด็กๆ เยาวชนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก และเพื่อนครูที่เข้าร่วมในกิจกรรมนี้จะนำไปประยุกต์ในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา ทั้งนี้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็มีอยู่แล้วในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการที่แต่ละสถาบันจะนำเสนอ ซึ่งโรงเรียนสามารถนำแนวคิดความเป็นประชาธิปไตยเข้าร่วมบูรณาในการเรียนการสอนได้ และเด็กสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทางศิลปะที่เป็นการบ่มเพาะทางประชาธิปไตย

ด้านพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า  การจัดงานครั้งนี้เป็นความพยายามของเครือข่ายในการจัดหาพื้นที่ในการทำกิจกรรมของเยาวชนผ่านงานศิลปะ เพื่อทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันของเยาวชนโดยไม่มีการแบ่งกลุ่มหรือแบ่งข้างแต่เป็นของทุกกลุ่ม ซึ่งจะมีโครงการภายใต้เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทยฯ อีกหลายโครงการ โดยโครงการต่อไปก็จะเป็นการจัดดนตรี และงานวิชาการอีกมากมายที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปข้างหน้า

“ขณะนี้ประเทศของเรามีความขัดแย้งอย่างมาก เราต้องปลูกฝังเด็กให้รับรู้ว่าการขัดแย้งไม่เกิดประโยชน์เราจะต้องให้ความรู้เชิงป้องกันมากกว่าให้ความรู้ระยะสั้น ไม่ใช่ว่าขัดแย้งแล้วจะมาแก้ปัญหา”ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าว

ด้านนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า  ความสมานฉันท์ก็พยายามทำกันมาตั้งนานแล้ว แต่ขณะเดียวกันมันก็มีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดการพัฒนา และประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมนั้น แก่นแท้ของมันคือความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง ซึ่งขั้นต่อมาก็คือการยอมรับความแตกต่างและชื่นชมความแตกต่าง เรายอมรับว่ามันเป็นความดีความงามได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาในการต่อสู้ทางการเมืองกันมากว่า 40 ปี ตั้งแต่ปี 2516 ในที่สุดก็จะพัฒนาไปสู่ความหลากหลายความแตกต่างทางความคิด ความเชื่ออุดมการณ์ผลประโยชน์ทัศนคติ วิธีแก้ปัญหาก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าความอดทนอดกลั้นเหมือนที่ตนได้บอกไว้

“งานวันนี้ก็เอาธรรมชาติของเด็กมาใช้ เพราะเด็กชอบความงามแบบหลากหลาย แต่อยู่ร่วมกันได้ เหมือนหลากหลาย แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก พอโตมามีจริตจะกร้านมากสีเหล่านี้ก็หายไป เพราะฉะนั้นการแสดงออกที่งดงามมักจะเป็นการแสดงออกของเด็ก พอแก่ตัวไปก็จะมีกรอบความคิดมีทฤษฏีที่ทำให้ความคิดแข็งมากขึ้น และตั้งแต่ 14 ตุลา 2516 ที่ทำกันมาประชาธิปไตยก็ยังไม่งอกงาม และตอนนี้เราจึงจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญในเรื่องรากฐานคือเด็กและเยาวชนมากขึ้น เราควรสอนให้เด็กเคารพสิทธิตัวเองและสิทธิของผู้อื่น เคารพตัวเองก็ต้องต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเองและสิทธิของผู้อื่นด้วย”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับผลการตัดสินการประกวดวาดภาพ “ดอกไม้บานหลากสีที่กรุงเทพฯ” ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับปรากฎผลดังนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นรางวัลชนะเลิศได้แก่ ด.ญ.ภัคจิรา เอกสิริ ชั้นม.3 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ระดับมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลายรางวัลชนะเลิศได้แก่ นายณัฐวุฒิ ชูมโนทรรศน์  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ระดับอุดมศึกษารางวัลชนะเลิศได้แก่ นายเสฏสิทธิ์ เสนนีย์วงศ์ ณ อยุทธยา คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยด.ญ. ภัคจิรากล่าวถึงภาพวาดว่า ภาพวาดของตนนั้นแสดงให้เห็นถึงจิ๊กซอของสังคมไทยที่มาช่วยกันต่อจิ๊กซอ และทำให้เกิดความรู้สึกของความสามัคคีร่วมกันโดยภาพวาดนี้ตนได้รับแรงบันดาลใจ จากกรณีที่สังคมไทยในปัจจุบันนี้มีแต่ความรุนแรง

ขณะที่นายณัฐวุติกล่าวว่า ภาพวาดของตนเป็นภาพวาดของปากที่มีดอกไม้หลุดออกมาจากปากของผู้พูด ซึ่งหมายความว่าถึงจะมีความคิดที่แตกต่างกันอย่างไรก็ขอให้พูดกันดี ๆ เพราะปัจจุบันนี้ทุกฝ่ายมีแต่แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง ส่วนนายเสฏสิทธิ์กล่าวว่า ภาพวาดของตนเป็นภาพสัตว์ประหลาดที่อยู่บนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเปรียบเป็นตัวปัญหาทำลายประเทศ แต่พอเห็นคนในประเทศมาทำลายกันเอง ตัวสัตว์ประหลาดที่อยู่บนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก็เห็นว่าตนไม่ต้องทำหน้าที่สัตว์ประหลาดแล้ว เพราะคนในชาติเป็นสัตว์ประหลาดที่ทำร้ายกันเองแทนแล้ว

ด้านนายสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธรกล่าวว่า สำหรับภาพของเด็กที่ชนะเลิศในแต่ละระดับนั้น ในแต่ละแนวคิดแตกต่างกันการตัดสินจึงต้องแตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นนั้นความหมายของภาพยังไม่เด่นชัด แต่ในรุ่นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้นสามารถตัดสินได้อย่างง่ายดายเพราะการสื่อความคิดค่อนข้างเด่นมาก ส่วนระดับอุดมศึกษานั้นจะมองในเรื่องแนวคิดของความเป็นหนุ่มสาวเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดประชาธิปไตยเป็นหลักในการพิจารณาควบคู่ไปกับองค์ประกอบอื่นนอกจากความงามและเทคนิค

อย่างไรก็ตามสำหรับการรณรงค์แต้มสีดอกไม้ประชาธิปไตยทั้งแผ่นดินมีการกระจายทีมงานเยาวชนไปตามพื้นที่ต่างๆของ กทม. โดยมีป้ายผ้าให้ประชาชนได้ร่วมระบายสีดอกไม้ประชาธิปไตยตามความต้องการ โดยกลุ่มเยาวชนได้เป็นตัวแทนในการร่วมรณรงค์ในหัวข้อ ประชาธิปไตยเห็นต่างได้ ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างกระแสให้กับประชาชนในกทม. เพื่อเป็นการส่งต่อให้กับประชาชนในพื้นที่อื่นๆ ทั้งประเทศ  โดยมีพื้นที่ 7 จุดหลักคือ บริเวณลานพาร์คสยามพารากอน, หน้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง, ท่าพระจันทร์, วังหลัง, ท่าช้าง, บริเวณตลาดนัดจตุจักร และบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว โดยมีการนำป้ายผ้าที่ประชาชนร่วมระบายสีทั้ง 5 จุดมาขึงต่อกันที่ลานสกายวอล์ค หน้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง

[/wptab]

[wptab name=’บทบาทสื่อกับความแตกต่างทางความคิดในสังคม’]

“บทบาทสื่อกับความแตกต่างทางความคิดในสังคม”

โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
“การที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้ก่อตั้งมาครบ 12 ปี ถือเป็นเวลาที่ไม่น้อย คงจะผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านวันเวลาผ่านประสบการณ์มามากมาย อาตมาภาพได้อ่านบทสัมภาษณ์ของผู้ใหญ่ในแวดวงหลายท่าน ซึ่งให้สัมภาษณ์ในช่วงหลายวันก่อนที่ผ่านมาแล้วได้เห็นว่าน่าอนุโมทนา เพราะแวดวงสื่อที่มีการตรวจสอบกันเองนั้นเป็นนิมิตหมายว่าเรายังคงมีอนาคต สังคมใดก็ตามที่คนในสังคมนั้นมีการตรวจสอบกันเอง สังคมนั้นเป็นสังคมที่มีอนาคต แต่ถ้าสังคมใดก็ตามปฏิเสธการตรวจสอบกันเองระหว่างคนด้วยกันเองสังคมนั้นกำลังถอยหลังเข้าคลอง”

นั่นเป็นถ้อยคำตอนหนึ่งที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้แสดงปาฐกถาเรื่อง “บทบาทสื่อกับความแตกต่างทางความคิดในสังคม” ในโอกาสครบรอบ 12 ปีสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้ารับฟังเป็นจำนวนมาก

ต่อหัวข้อปาฐกถาดังกล่าวพระมหาวุฒิชัยได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาจับและสอดประสานกันได้อย่างลงตัว โดยได้แบ่งแยกปัญหาและหลักการคิดของสื่อมวลชนในฐานะขุมปัญญาของสังคมไทยในช่วงที่ต้องการทางออก เพราะมองว่าปัจจุบันสังคมไทยมีสภาพสุดโต่ง เลือกข้าง แบ่งฝ่าย แยกขั้ว ชัดเจน ยึดติดในลัทธินิยมอุดมการณ์ และความคิดความเห็นความเชื่อมากกว่าความเป็นจริง แต่สำหรับสื่อจะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เด็ดขาด

ทั้งนี้สื่อจะต้องก้าวออกจากความเชื่อมาอยู่กับความจริง มีอุปนิสัยของนักวิจัยมืออาชีพที่ต้องการค้นหาความจริงสูงสุดโดยที่ไม่ตั้งข้อสรุปล่วงหน้า แต่ใช้วิธีสืบค้นหาข่าวและรายงานข่าวที่มีหลักฐานข้อมูลหนักแน่นเป็นแก่นสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อส่งต่อความจริงสุดท้ายให้ถึงมือประชาชนทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ และต้องมีวิธีคิดในแบบอิทัปปัจจยตา หรือเรียนรู้ที่จะมองให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งในลักษณะ “สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี” หรือ “สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน” ซึ่งจะทำให้สื่อสามารถก้าวข้ามวิธีคิดแบบสุดโต่ง แยกขั้ว เลือกข้าง ถูกผิด ดีชั่ว เหลือง แดง ได้อย่างแยบคาย

นอกจากนี้ยังมีหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่สื่อควรถือไปปฏิบัติคือหลัก “กาลามสูตร” 10 ประการ คือ 1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา 2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา 3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ 4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรกะ 6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน 7. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะสอดคล้องกับทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว 9. อย่าปลงใจเชื่อเพราะว่ามองเห็นรูปการว่าน่าจะเป็นไปได้ 10. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเห็นว่าเป็นครูบาอาจารย์ นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากไม่ปฏบัติตามกาลามสูตร 10 แล้ว อาจพลัดหลงเข้าไปสู่การแบ่งเลือกข้างโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงบอกว่าหากเราอยากใช้ปัญญาอย่างเป็นกลาง เป็นอิสระ  ในฐานะสื่อมวลชนของประชาชนอย่างแท้จริง

ต่อมาสื่อต้องยึดมั่นในอุดมคติที่ดีงาม เชื่อมั่นศรัทธาในฐานข้อมูลที่เป็นความจริง ไม่ขายศักดิ์ศรีให้กับประโยชน์โสตถิผลเฉพาะหน้า และขณะเดียวกันต้องเป็นทั้งวิญญูชน ผู้สามารถรักษาจรรยาวิชาชีพของสื่อเอาไว้ได้อย่างขาวสะอาดในทุกกาลเทศะ สามารถเป็นประภาคารทางปัญญาให้กับสังคมทั้งในยามปกติและยามวิกฤตได้อย่างน่าเชื่อถือ คือต้องเป็นทั้งสื่อมวลชนและวิญญูชน

นอกจากนี้ต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม เห็นแก่ความจริง มากกว่าเห็นแก่ความเชื่อ ต้องเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ต้องเห็นแก่หลักการมากกว่าเห็นแก่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ต้องยึดถือหลักปฏิบัติต่อบุคคลด้วยปัญญา ต่อปัญหาด้วยปัญญา นั่นคือการให้เกียรติแหล่งข่าวด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของแหล่งข่าว ดังเช่นการที่เราให้เกียรติตนเอง อย่างไรก็ตามการหลักปฏิบัติต่อปัญหาต่างๆ ต้องใช้ปัญญาเจาะลึกให้ถึงที่สุด โดยอาศัยเครือข่ายที่สามารถตรวจสอบ ท้วงติง วิพากษ์วิจารณ์ตนเองได้อย่างบริสุทธิ์ใจ และต้องมีใจกว้างพร้อมที่จะรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารย์จากเครือข่ายเหล่านั้นซึ่งเป็นผู้ปรารถนาดีต่อวงการของสื่ออยู่เสมอ

สิ่งสำคัญสำหรับสื่ออีกประการคือต้องหมั่นเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติม และไม่ทรนงตนว่ามีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น แต่ความจริงแล้วสื่อจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เป็นผู้รับใช้สังคม รับใช้ประชาชน ต้องคอยตรวจสอบทุจริตต่างๆ สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมเพื่อความสงบสุขร่วมกัน

“สื่อต้องเรียนรู้ที่จะเจริญสติอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ไม่อหังการ ทะนงตน ว่าเป็นฐานันดรที่สี่มี อภิสิทธิ์เหมือนคนอื่น แท้ที่จริงสื่อต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เราคือข้าช่วงใช้ของประชาชนผู้ต่ำต้อย ผู้เฝ้าคอยสดับเสียงแห่งความทุกข์ยาก เสียงแห่งความอยุติธรรมของประชาชน เสียงแห่งความฉ้อฉลในยศ ทรัพย์ อำนาจ ของผู้นำรัฐ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปิดเผยเพื่อแสวงหาวิธีสร้างสรรค์พัฒนาสังคมที่อุดมสันติสุขร่วมกัน”

พระมหาวุฒิชัยกล่าว

นอกจากนี้ พระมหาวุฒิชัยยังได้เทศนาย้ำในตอนท้ายว่า สื่อมวลชนเป็นวิชาชีพที่สังคมยึดมั่นว่าเป็นอาชีพที่สุจริต และเป็นวิชาชีพที่จะช่วยถ่วงดุลอำนาจอันสำคัญอย่างสูงยิ่ง ไม่น้อยไปกว่าสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันรัฐสภา สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันทางการเมือง หรือแม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ในการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถ้าสื่อได้สูญเสียความเป็นกลางทางปัญญาและสื่อไม่มีอิสรภาพเมื่อไหร่เท่ากับประเทศชาติได้เสียสดมภ์หลักของประชาธิปไตยได้สูญเสียไปแล้ว ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “อิสรภาพของสื่อก็คืออิสรภาพของประชาชน เพราะแท้ที่จริงสื่อก็คือประชาชน ประชาชนก็คือสื่อ”

[/wptab]

[wptab name=’เขาว่า นสพ. ท้องถิ่นขอเป็นสมาชิกสภาฯ ยากมาก’]

เขาว่าน.ส.พ.ท้องถิ่นขอเป็นสมาชิกสภายากมาก!

เรียน  ประธานสภาการหนังสือพิมพ์
เรื่อง  ขอทราบหลักเกณฑ์การเป็นสมาชิก

ก่อนอื่นต้องขอระบายความอึดอัด เพราะหนังสือพิมพ์ในต่างจังหวัดไม่ค่อยได้รับความดูแลจากองค์กรวิชาชีพ โดยเฉพาะสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อีกทั้งในบางครั้งกลับถูกดูหมิ่นดูแคลน ถูกผลักใสให้เป็นสื่อสีเทาอยู่ตลอดเวลา  ทั้งๆที่หนังสือพิมพ์ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่มีการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และเป็นสื่อที่นำเสนอข่าวสารของท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องแม่นยำและตรงต่อความต้องการ รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วย

นอกจากไม่ดูแลแล้ว ในประชาคมคนทำสื่อต่างจังหวัดเริ่มตั้งคำถามกันมากขึ้นว่า ทางสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมีนโยบายปิดกั้นไม่ขยายการรับสมาชิกที่เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพราะกลัวว่าจะควบคุมไม่ได้และกลัวว่าจะนำเอาชื่อของสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติไปสร้างเครดิตทางการค้าให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนั้นๆ

ดังเห็นได้จากทางสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติไม่เคยมีการประชาสัมพันธ์ถึงหลักเกณฑ์ในการรับสมัครว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างและช่วงเวลาไหนที่จะเปิดรับสมัครสมาชิกและเป็นสมาชิกแล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ขอแสดงความนับถือ
สื่อน้ำดีตจว.

[/wptab]

[end_wptabset]