[wptab name=’จดหมายข่าวประจำเดือนมี.ค – เม.ย 52′]
คณะผู้จัดทำแถลง
จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ฉบับนี้เป็นของเดือนมีนาคม-เมษายน คณะทำงานได้มีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าบ้างเล็กน้อย เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนเนื้อหาสาระในเล่มฉบับนี้จะมีภาพของกรรมการและประธานอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ซึ่งมาจากกรรมการแต่ละประเภท เพื่อให้สมาชิกของเราได้เห็นหน้าเห็นตาตัวแทนของท่านที่เข้ามาทำหน้าที่ ในภาพส่วนรวมของวงการสื่อ สำหรับเนื้อหาอื่นได้มีการปรับปรุงเพื่อให้สมาชิกได้สาระที่มีประโยชน์ มากขึ้น
นอกจากนั้นยังเปิดใจท่านประธานสภาฯ คนใหม่ถึงนโยบายการทำงานที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ และล่าสุดยังมีแนวปฏิบัติในการเดินทางไปทำข่าวต่างประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ของคณะกรรมการสมัยที่ 6 หากสมาชิกจะมีข้อเสนอแนะหรือมีข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม กรุณาส่งตรงไปยังสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อคณะผู้จัดทำจะได้นำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับผู้อ่านต่อไป
อย่างไรก็ตามการทำหนังสือของคณะทำงานจะพยายามนำเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ มาเผยแพร่ให้กับสมาชิกมากที่สุด หากสมาชิกจะมีข้อมูลข่าวสารจะให้ประชาสัมพันธ์ ส่งตรงมายังสภาการฯหรือทางE-MAIL ก็ยินดีเป็นสื่อกลางให้ โดยเฉพาะ MAIL ของเราจะมีการพัฒนาให้สมาชิกและบุคคลภายนอกรู้จักรมากขึ้น คณะผู้จัดทำกำลังดำเนินการประสานงานอยู่ ฉบับหน้าพบกัน
ประธานอนุเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
[/wptab]
[wptab name=’สัมภาษณ์พิเศษ ปราโมทย์ ฝ่ายอุประ’]
สัมภาษณ์พิเศษ ปราโมทย์ ฝ่ายอุประ
ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
เปิดใจครั้งแรก ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนใหม่ “ต้องรักษาสถานภาพองค์กรอิสระเพื่อควบคุมกันเองไว้ต่อไป”
คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติชุดใหม่ สมัยที่ 6 ได้รับมอบงานจากคณะกรรมการชุดก่อน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา และจะมีวาระการดำรงตำแหน่งไปอีก 3 ปีเติม โดยที่ผ่านมา และคณะกรรมการชุดใหม่ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องไปทันที โดยมีการประชุมคณะกรรมการเป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมพิจารณา วินิจฉัย หรือริเริ่มงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ “ปราโมทย์ ฝ่ายอุประ” ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” มีมุมมองต่อการทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่
ก่อนหน้าที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มองบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ อย่างไร
มองว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ถือกำเนิดมาตามรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมกันเอง เพื่อดูแลกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และส่งเสริมเสรีภาพ รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ เรียกว่าเป็นองค์กรที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาแทรกแซง แต่ต้องการให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านหนังสือพิมพ์ ดูแลกันเอง ไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยว เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ จากสิ่งที่ได้มองเห็นจึงอยากเข้ามาช่วยทำงานทางด้านนี้ ในการสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สิทธิของหนังสือพิมพ์เพื่อการรับรู้นั้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรของเรามากขึ้น
เมื่อเข้ามารับตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ แล้วมองบทบาทหน้าที่ เป็นไปตามที่มองไว้แต่แรกหรือไม่ อย่างไร
ก็ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมา 12 ปีแล้ว เป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง ถือว่าเป็นที่เชิดหน้าชูตาของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ได้พอสมควร และที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ประชาชน ให้ความร่วมมือกับองค์กรสื่อต่างๆ และเรื่องการรับเรื่องร้องทุกข์ ที่ประชาชนท่านไหนที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถร้องเรียนกันมาได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งหนึ่งในการทำงานของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ
ในขณะที่ยังไม่ได้มีการกำหนดแผนการทำงานร่วมกับคณะกรรมการท่านอื่นๆ นั้น ส่วนตัวของคุณปราโมทย์ได้วางร่างโครงการ แผนงาน ที่จะต้องทำต่อไปคืออะไรบ้าง
ความคิดส่วนตัวที่อยากจะเห็นนั้น เรื่องแรกคงจะเป็นเรื่องความร่วมมือ เรื่องการสนับสนุนจากองค์กรสื่อต่างๆ เพราะว่าเรามีองค์กรสื่อมากพอสมควร สมาคมสื่อต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะหนังสือพิมพ์อย่างเดียว แต่รวมถึงวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ด้วย ซึ่งอยากให้มีการสนับสนุน การร่วมมือ การดำเนินงานให้แน่นแฟ้นให้เป็นเอกภาพกัน
ประการถัดมา คือ เรื่ององค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสื่อ อยากจะให้การสนับสนุนให้เข้ามามีบทบาทร่วมกันในการตรวจสอบสื่อ ซึ่งจะทำให้องค์กรสื่อที่เป็นสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ทำหน้าที่ได้อย่างภูมิใจ พร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบได้ตลอดเวลา
อีกอย่างคือ การรักษาสถานภาพการเป็นองค์กรอิสระควบคุมกันเองให้ได้ตลอดไป เพราะว่าดูสถานการณ์บ้านเมืองของเราในขณะนี้มีการเคลื่อนไหวมากมาย ไม่รู้ว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร อาจจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ และเขียนขึ้นมาใหม่ ซึ่งแต่ละครั้งก็จะส่งผลมากพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่ารัฐเองก็อยากที่จะเข้ามาควบคุมองค์กรของเรา แต่เราเองไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม เพราะฉะนั้นเป้าหมายของเราจึงพยายามที่จะไม่ให้หน่วยงานของรัฐเข้ามา เราจะขอเป็นองค์กรอิสระเช่นนี้ต่อไป
นอกจากนี้ที่คิดไว้คือการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่องค์กรสมาชิก ทำให้สมาชิกทั้งหลายมีความสัมพันธ์ มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น พัฒนาองค์กรของเราให้เป็นที่ยอมรับของสมาชิกมากขึ้น และต้องสร้างให้ประชาชนทั่วไปยอมรับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มากขึ้น ว่าหากมีปัญหาก็สามารถมาร้องเรียนได้ มาพึ่งพิงได้ อีกอย่างคือการส่งเสริมอาชีพของมวลสมาชิก การฝึกอบรม การสัมมนาทางวิชาการต่างๆ อาจจะมีรางวัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจริยธรรม นอกจากนี้เรื่องความสัมพันธ์กับสื่อต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่สำคัญ นโยบายอันหนึ่งที่คิดว่าอย่างไรเสีย ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการวางกรอบอะไรชัดเจนนัก ที่เราจะวางแผนระยะสั้นระยะยาวในการที่จะพัฒนาสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และคิดว่าเรื่องขององค์กรสื่อก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องขยายออกไปให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น หรือมีการร่วมมือกันมากขึ้น
ขณะนี้ที่ยังไม่ได้มีการกำหนดแผนการทำงานร่วมกันนั้น ได้ดำเนินการสานต่องานจากคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สมัยที่ 5 อย่างไรบ้าง
เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ถ้าเป็นเรื่องงานประจำ ที่คณะกรรมการชุดที่แล้วทำไว้ ที่คั่งค้างเอาไว้ ที่รับมานั้นก็มีคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ก็รับมา และพร้อมที่จะสานงานต่ออย่างเต็มที่อยู่แล้ว และหากมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นมา และคิดว่าน่าจะสรุปออกมาได้ในเร็วๆ นี้
ไม่ได้ติดขัดเรื่องใด และยังมีการดำเนินงานกันต่อไปเรื่อยๆ
ครับ
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติเรื่องการรับเชิญผู้สื่อข่าวไปทำข่าวในประเทศ และต่างประเทศ
ครับ อันนั้นเป็นงานต่อเนื่องจากคณะกรรมการสมัยที่แล้วทำไว้ ซึ่งเราพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้สร้างความเสียหาย อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ เราจึงขานรับแนวปฏิบัตินั้น โดยมีมติให้ดำเนินการต่อไป
ขณะนี้ แนวปฏิบัติเรื่องการรับเชิญไปทำข่าวในประเทศและต่างประเทศ อยู่ระหว่างการประกาศใช้ และเผยแพร่ให้องค์กรสมาชิกรับทราบ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป
[/wptab]
[wptab name=’สภา นสพ.เตือนระวังนักข่าวผี’]
สภา นสพ.เตือนระวังนักข่าวผี
สภาการหนังสือพิมพ์ฯเชิญชวนองค์กรสมาชิกเร่งทำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว เพื่อใช้ยืนยันตัวตน โดยสังคมสามารถสอบทานย้อนกลับที่ฐานข้อมูลสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อช่วยกันป้องกันผู้แอบอ้างสร้างความเสื่อมเสียแก่วงวิชาชีพ ทั้งยังป้องปรามสมาชิกไม่ให้ใช้สถานะไปแสวงประโยชน์โดยมิชอบ
ที่สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อบ่ายวันที่ 6 พ.ค.52 มีการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6 ครั้งที่ 3 ภายหลังการประชุม นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติขอเชิญชวนองค์กรสมาชิกที่ยังไม่ได้ทำหรือที่ทำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทั้งหมด ขอให้ติดต่อมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อขอทำได้เพิ่ม โดยบัตรดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการยื่นเรื่องขอประกันตัวในคดีความที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เช่น ฟ้องหมิ่นประมาท
โดยองค์กรสมาชิกที่ได้มาขอทำบัตรแล้วจำนวน 938 คน จาก 35 องค์กรสมาชิก ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีองค์กรสมาชิกทั้งหมด 56 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค 25 ฉบับ ส่วนกลาง 24 ฉบับ และนสพ.ในเครืออีก 7 ฉบับ ดังนั้นจึงมีองค์กรสมาชิกที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวอีกมาก สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงขอเชิญชวนองค์กรสมาชิกเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวในสังกัดยื่นความจำนงขอทำบัตรได้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักเลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-243-5697,02-668-9900 หรือ tpct@inet.co.th
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้แสดงความห่วงใยต่อกรณีที่มีผู้แอบอ้างเป็นผู้สื่อข่าว หรือนักข่าวผี เรียกรับผลประโยชน์จากองค์กร บริษัท ห้างร้าน ในโอกาสต่างๆ เช่น งานฉลองครบรอบบริษัท หรืองานแสดงความยินดีอื่นๆ โดยอ้างว่าจะช่วยประชาสัมพันธ์งานให้ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ขอแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานต่างๆ หากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว ให้สอบถามมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ผ่านช่องทางการติดต่อข้างต้น เพื่อตรวจสอบว่าเป็นผู้สื่อข่าวสังกัดองค์กรสมาชิกใด และสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะดำเนินการตามความเหมาะสม แต่หากไม่พบว่าเป็นผู้สื่อข่าวสังกัดใด ก็ขอให้องค์กร บริษัท ห้างร้านโปรดดำเนินการตามกฎหมาย
[/wptab]
[wptab name=’คอลัมน์ โลกรอบสื่อ’]
คอลัมน์ โลกรอบสื่
กลยุทธ์การเอาตัวรอดของสื่อในยามวิกฤติ “รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย”
โดย บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์
ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดชนิดที่ยังดำดิ่งหาก้นเหวไม่พบนี้ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กในแดนดินถิ่นอินทรีหงอยอเมริกาต่างพยายามหาหนทางที่สร้างสรรค์เพื่อความอยู่รอด จากที่เคยหันหน้ากันคนละทาง สร้างดาวกันคนละดวงเปิดฉากทำสงครามกันอย่างดุเดือดตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเพื่อชิงความเป็นเจ้ายุทธจักรในวงการนี้ ขณะนี้หนังสือพิมพ์คู่แข่งหลายฉบับกลับหันมาจับมือเป็นพันมิตรอย่างหลวมๆ เพื่อช่วยกันประคับประคองเอาตัวรอด ถือเป็นกลยุทธ์ตาอินกับตานาร่วมกันสร้างตำนานใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้ตาอยู่ ซึ่งก็คือสื่อใหม่เช่นอินเตอร์เน็ตมาแย่งชิ้นปลามันไปเหมือนเช่นที่ทำมาตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
การจับมือเป็นพันธมิตรอย่างหลวมๆนี้ มีขึ้นหลังจากหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับได้ใช้มาตรการรัดเข็มขัดจนเอวคอดกิ่วมาใช้ ตั้งแต่ลดจำนวนนักข่าว ลดเงินเดือน ตัดงบประมาณด้านการเดินทาง หรือยอมตกข่าวใหญ่ในบางพื้นที่เนื่องจากไม่มีนักข่าวประจำการที่นั่น หรืออาจถึงขั้นต้องปิดสำนักข่าวตามเมืองต่างๆ แต่ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์การเงินกระเตื้องขึ้นมาได้
เหตุนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ในสหรัฐจึงจำเป็นต้องจับมือกันในหลายด้าน รวมไปถึงการร่วมกันทำข่าวประจำวันเช่นการแถลงข่าว เป็นต้น โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อข่าวหรือภาพข่าว เพียงแค่ให้เครดิตว่าได้นำข่าวหรือภาพข่าวมาจากฉบับใด อีกทั้งยังมีการตกลงอย่างไม่เป็นทางการว่าจะไม่ลอกข่าวจากที่อื่นที่อยู่นอกเหนือข้อตกลง รวมไปถึงการอาจเข้มงวดกวดขันในเรื่องการใช้ข่าวจากสื่อออนไลน์
ขณะนี้หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ 3 ฉบับในฟลอริดาใต้ได้จับมือเป็นพันธมิตรหลวมๆ แล้ว เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับในรัฐเมนและอีก 87 ฉบับในโอไฮโอ ขณะที่วอชิงตัน โพสต์กับเดอะซันในบัลติมอร์ได้ทำข่าวร่วมกันในรัฐแมรี่แลนด์มาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว
แน่นอน การจับมือเป็นพันธมิตรของหนังสือพิมพ์ครั้งนี้ ทำให้เสียงของผู้อ่านต้องเหือดหายไปส่วนหนึ่ง “นี่อาจจะเป็นสถานการณ์ในฝันในโลกที่สมบูรณ์พร้อม ซึ่งจะมีหนังสือพิมพ์แค่ 4-5 ฉบับที่จะทำข่าวประชาพิจารณ์ด้วยกัน แต่จะต่างกันตรงที่จำนวนเนื้อที่และข้อมูลเสริมหรือเพิ่มเติม อันจะทำให้แตกต่างกันออกไปแม้จะเป็นข่าวชิ้นเดียวกันก็ตาม”มาร์ค วู้ดเวิร์ด บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์บังกอร์ เดลินิวส์ ซึ่งได้จับมือเป็นพันธมิตรกับอดีตหนังสือพิมพ์คู่แข่งในรัฐเมนมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วให้ความเห็น ก่อนจะเสริมว่า “ความร่วมมือนี้ถือเป็นความสมยอมที่จำเป็น เพื่อจะรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรของเราพร้อมๆ กับการรับใช้ประชาชน”
หนังสือพิมพ์ ดัลลัส มอร์นิ่ง นิวส์ กับฟอร์ท เวิร์ธ ได้เริ่มจับมือเป็นพันธมิตรกันเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาในด้านการจัดจำหน่ายและการวางแผง ตามด้วยการแลกเปลี่ยนภาพและบทวิจารณ์ด้านดนตรี อีกทั้งเตรียมขยายความร่วมมือด้านอื่นๆ ให้มากขึ้นด้วย หลังจากมอร์นิ่ง นิวส์ ได้ลดเงินเดือนลง 13 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้ว นอกเหนือจากลอยแพนักข่าวราว 50 คน ส่วนหนังสือพิมพ์ฟอร์ท เวิร์ธ ได้ปรับลดนักข่าวลงถึง 2 ครั้ง รวมแล้วเท่ากับให้นักข่าวออกถึง10 เปอร์เซ็นต์
“เทียบกับโลกเมื่อทศวรรษที่แล้ว ถือเป็นโลกที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง” แกรี วอร์เทล บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ฟอร์ท เวิร์ธให้ความเห็น “ตอนนี้เราไม่มองว่าพวกเราเป็นคู่แข่งอีกต่อไป ส่วนคู่แข่งของเราได้เปลี่ยนไปกลายเป็นสื่อที่แตกแขนงออกไปทั่วประเทศรวมทั้งจากสื่อต่างประเทศ”
อย่างไรก็ดี การที่จู่ๆ คู่ปรับเก่าพลันจับมือเป็นพันธมิตรกันย่อมมีข้อตะขิดตะขวงใจกันบ้าง บ็อบ ม็อง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดัลลัสมอร์นิ่ง นิวส์ ยอมรับว่า “ช่วงที่เราต้องแข่งกันอย่างเอาเป็นเอาตายเหมือนเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เราไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าในที่สุดพวกเราจะต้องมาร่วมมือกันอย่างนี้ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน เหตุการณ์เปลี่ยน ก็พลอยทำให้มุมมองเปลี่ยนไปด้วย”
ทั่วทุกหนแห่งในไมอามี หนังสือพิมพ์เฮรัลด์ของแมคแคลตชีและเดอะ ปาล์ม บีช โพสต์ในเครือของค็อกซ์ เอนเตอร์ไพรซ์ อิงค์ ได้ใช้ข่าวร่วมกันมาก่อนและตอนนี้ได้ขยายวงไปที่ซัน -เซนติเนล ในเครือของทรีบูน โค ในฟลอริดาใต้ และหนังสือพิมพ์ในเครือของอี.ดับเบิลยู. สคริปป์ แถบเทรเชอร์ โคสต์
จอห์น บาร์โทเซค บรรณาธิการของโพสต์กล่าวว่าขณะนี้คู่แข่งใหญ่ที่สุดของตัวเองไม่ใช่ซัน-เซนติเนล หากแต่เป็นบรรดาเว็บไซต์ต่างๆและความรับผิดชอบในการป้อนข่าวให้ผู้อ่านให้ทันต่อเหตุการณ์
ขณะเดียวกัน ไมอามี เฮรัลด์และเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ไทมส์ ได้รวมฝ่ายผลิตเข้าด้วยกัน หลังจากที่ทั้ง 2 ฉบับได้ทยอยปลดนักข่าวออกตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ที่โอไฮโอ หนังสือพิมพ์โคลัมบัส ดิสแพตช์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่เจาะกลุ่มผู้อ่านข่าวเบสบอลในคลิฟแลนด์และซินซินนาติโดยเฉพาะ โดยให้อิสระแก่นักข่าวกีฬามากขึ้นในการเจาะข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ทั้ง 8 ฉบับที่พร้อมจะใช้ข่าวร่วมกัน เบน มาร์ริสัน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดิสแพตช์ปฏิเสธว่าการจัดการนี้ทำให้นักข่าวหมดแรงใจที่จะคิดจะทำข่าวเจาะพิเศษ
“พวกเราก็ยังคงแข่งขันกันในเรื่องการเพิ่มคุณภาพของข่าวและประสิทธิภาพของการทำงาน พวกเราก็ยังอยากจะเอาชนะฉบับอื่นและพวกเขาก็อยากจะเอาชนะเราเช่นกัน”
ความร่วมมือนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในวงการสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น สื่ออื่นๆก็เลียนแบบอย่างบ้าง เช่นโทรทัศน์ฟ็อกซ์ นิวส์กับเอ็นบีซีก็วางแผนจะแลกวิดีโอข่าวกันเช่นกัน ขณะที่สำนักข่าวเอพีซึ่งมีอายุยืนยาวมานานมาถึง 162 ปีนับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ 5 ฉบับในนิวยอร์กได้ตกลงจะร่วมกันลงขันออกค่าใช่จ่ายในการส่งนักข่าวไปทำข่าวสงครามที่เม็กซิโก ความร่วมมือนี้ได้ขยายไปสู่ความร่วมมือระดับโลก จนขณะนี้เอพีมีนักข่าวกว่า 4,000 คนประจำการในสำนักงานสาขา 240 แห่งในทั่วโลกก็ถูกบีบให้ต้องร่วมมืออย่างหลวมๆ ผ่านตลาดสมาชิกของเอพี โดยหนังสือพิมพ์ราว 600 ฉบับทั่วสหรัฐได้จับมือใช้ข่าว ภาพข่าวและกราฟิกร่วมกันโดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิกเพิ่ม
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความร่วมมือในรูปแบบใหม่นี้ช่วยให้หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ สามารถทำกำไรได้มากขึ้น “การแบ่งปันข่าวและภาพข่าวเป็นหนึ่งในความพยายามของพวกเราที่จะช่วยกันอุดรอยรั่วบนเขื่อนใหญ่” เร็กซ์ โรเดส บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดอะซัน เจอร์นัลแห่งลูอิสตัน รัฐเมนให้ความเห็น “หนังสือพิมพ์จำนวนไม่ใช่น้อยต่างเผชิญกับการคุกคามทุกรูปแบบ จริงอยู่ การทำเช่นนี้อาจจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาได้หมดสิ้นไป แต่เราก็พยายามทำเท่าที่ทำได้เพื่อให้มีความแตกต่างกันบ้าง ไม่ใช่เหมือนกันเป๊ะทุกตัวอักษรไป”
[/wptab]
[wptab name=’แถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก’]
แถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
เสรีภาพสื่อ ต้องร่วมลดความรุนแรง
ตามที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก หรือ World Press Freedom Day เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ และหลักการพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อให้ประชาชนของทุกประเทศได้ร่วมกันให้ความสำคัญกับการที่สื่อมวลชนจะต้องมีเสรีภาพ ซึ่งย่อมหมายถึงการที่ประชาชนจะมีเสรีภาพด้วย
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน และองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ตามรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันเสรีภาพสื่อมวลชนดังกล่าว จึงมีขอเสนอต่อฝ่ายต่างๆ ดังนี้
- รัฐบาลต้องไม่กระทำการใดๆ หรือมีพฤติกรรมที่เป็นการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่ปิดกั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่ออินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและวิทยุชุมชน-ท้องถิ่น หากพบว่า สื่อใดกระทำการละเมิดกฎหมาย ก็ต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายดำเนินการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ใช้วิธีการอื่นใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
- รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการปฏิรูปกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชนและสื่อมวลชน รวมทั้งต้องยอมรับความหลากหลายของสื่อทุกประเภทในการนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นจากมิติต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
- นักการเมือง ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิก รวมทั้งคู่ขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ ต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการแสวงหาข่าวสารข้อเท็จจริง เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชน โดยทุกฝ่ายต้องยุติการยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังสื่อมวลชนด้วยวิธีการใดๆ รวมทั้งต้องยุติการใช้สื่อเพื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคมขยายตัวมากยิ่งขึ้น
- สาธารณชนต้องมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร เปิดใจให้กว้างในการรับฟังความเห็นที่แตกต่างจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ พึงระมัดระวังในการรับข้อมูลของสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่นำเสนอข่าวสารด้วยความลำเอียง มีอคติ และยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกจนอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในแก้ไขปัญหาทางการเมือง
- Top of Form
- สื่อมวลชนทุกแขนง โดยเฉพาะสื่อที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มการเมืองต่างๆ ต้องไม่นำเสนอข่าวที่ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง และนำไปสู่ความรุนแรง โดยขอให้ยึดมั่นการปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ที่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง รอบด้าน ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และไม่เน้นการแข่งขันในเรื่องความรวดเร็วในการเสนอข่าว เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน และความเข้าใจผิดต่อสถานการณ์
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ขอยืนยันว่า เสรีภาพในการนำเสนอข่าวและความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย การกระทำใดๆ ไม่ว่าเป็นจะเกิดจากฝ่ายใด ที่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
แถลง ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
3 พฤษภาคม 2552
- สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
- สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
- สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
- สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
- สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
- สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
- สมาคมเคเบิลทวีแห่งประเทศไทย
- Bottom of Form
[/wptab]
[wptab name=’รายนามคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6′]
รายนามคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6
คณะที่ปรึกษา
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1
|
ดร.อิสระ นิติทัณฑ์ประภาศ | ที่ปรึกษา |
2
|
ศ.นพ.ประเวศ วะสี
|
ที่ปรึกษา
|
3
|
นายมานิจ สุขสมจิตร
|
ที่ปรึกษา
|
4
|
นายสมชาย กรุสวนสมบัติ
|
ที่ปรึกษา
|
5
|
ดร.อัมมาร สยามวาลา
|
ที่ปรึกษา
|
6
|
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
|
ที่ปรึกษา
|
7
|
คุณหญิงอัมพร มีศุข
|
ที่ปรึกษา
|
8
|
นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร
|
ที่ปรึกษา
|
9
|
นางบัญญัติ ทัศนียะเวช
|
ที่ปรึกษา |
10
|
นายสุวัฒน์ ทองธนากุล | ที่ปรึกษา |
——————————————————————————————————-
คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
ตำแหน่ง
|
1
|
นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ |
กรรมการประเภทที่ 1
|
ประธาน
|
2
|
นายสุนทร จันทร์รังสี
|
กรรมการประเภทที่ 1
|
รองประธานคนที่ 1
|
3
|
นายสัก กอแสงเรือง
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
รองประธานคนที่ 2
|
4
|
นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร
|
กรรมการประเภทที่ 2
|
เลขาธิการ
|
5
|
นายจิระพงค์ เต็มเปี่ยม
|
กรรมการประเภทที่ 2
|
รองเลขาธิการ
|
6
|
นางสาวเจียมจิตต์ แซ่อึ่ง
|
กรรมการประเภทที่ 2
|
เหรัญญิก
|
7
|
นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์
|
กรรมการประเภทที่ 1
|
|
8
|
นายสมนึก กยาวัฒนกิจ
|
กรรมการประเภทที่ 1
|
|
9
|
นายบรรหาร บุญเขต
|
กรรมการประเภทที่ 1
|
|
10
|
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล
|
กรรมการประเภทที่ 2
|
|
11
|
นายสมาน สุดโต
|
กรรมการประเภทที่ 2
|
|
12
|
นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหง
|
กรรมการประเภทที่ 3
|
|
13
|
นายธีรวัฒน์ ธรรมสกุล
|
กรรมการประเภทที่ 3
|
|
14
|
นายสวิชย์ บำรุงสุข
|
กรรมการประเภทที่ 3
|
|
15
|
นายผดุงศักดิ์ ลิ้มเจริญ
|
กรรมการประเภทที่ 3
|
|
16
|
นายทองใบ ทองเปาด์
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|
17
|
นางยุวดี ธัญญศิริ
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|
18
|
รศ.จุมพล รอดคำดี
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|
19
|
นายวิทิต ลีนุตพงษ์
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|
20
|
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|
21
|
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1
|
นายมนตรี ชนกนำชัย | ที่ปรึกษา |
2
|
นายสมาน สุดโต | ประธาน |
3
|
นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร | เลขานุการ อนุกรรมการ |
4
|
นายจิระพงค์ เต็มเปี่ยม | ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการ |
5 | นางสาวเจียมจิตต์ แซ่อึ่ง | อนุกรรมการ |
6
|
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล | อนุกรรมการ |
7
|
นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี | อนุกรรมการ |
8
|
นายสุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์ | อนุกรรมกา |
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการพิจารณารับเรื่องราวร้องทุกข์
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1
|
นายสัก กอแสงเรือง | ประธาน |
2
|
นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง | รองประธานคนที่ 1 |
3
|
นายธนดล มีถม | รองประธานคนที่ 2 |
4
|
นายชาย ปถะคามินทร์ | เลขานุการ อนุกรรมการ |
5
|
นายมนตรี ชนกนำชัย | ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการ |
6
|
นายบรรหาร บุญเขต | อนุกรรมการ |
7
|
นายธีรวัฒน์ ธรรมสกุล | อนุกรรมการ |
8
|
รศ. จุมพล รอดคำดี | อนุกรรมการ |
9
|
นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ | อนุกรรมการ |
10
|
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ | อนุกรรมการ |
11 | นายศิริ อาบทิพย์ | อนุกรรมการ |
12 | นายศักดิฺ์สิทธิ์ วิบูลย์ศิลป์โสภณ | อนุกรรมการ |
13 | นายเกรียงไกร พิทักษ์ชัชวาล | อนุกรรมกา |
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมจริยธรรม
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1 | นายทองใบ ทองเปาด์ | ที่ปรึกษา |
2 | รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ | ที่ปรึกษา |
3 | นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี | ที่ปรึกษา |
4 | นายสุนทร จันทร์รังสี | ประธาน |
5 | นางสาวเนาวรัตน์ สุขสำราญ | เลขานุการ อนุกรรมการ |
6 | นายอนุรักษ์ รชนิรมณ์ | ผู้ช่วยเลขานุการ อนุกรรมการ |
7 | นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง | อนุกรรมการ |
8 | ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ | อนุกรรมการ |
9 | นายผดุงศักดิ์ ลิ้มเจริญ | อนุกรรมการ |
10 | ผศ.รุจน์ โกมลบุตร | อนุกรรมการ |
11 | นายก่อเขต จันทรเลิศลักษณ์ | อนุกรรมการ |
12 | นายสุรินทร์ ชัยวีระไทย | อนุกรรมการ |
13 | นายสมศักดิ์ ถนัดช่าง | อนุกรรมการ |
14 | นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล | อนุกรรมการ |
15 | นายมงคล บางประภา | อนุกรรมกา |
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1 | นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง | ที่ปรึกษา |
2 | รศ.จุมพล รอดคำดี | ประธาน |
3 | นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล | อนุกรรมการ |
4 | นายจักรกฤษณ์ แววคล้ายหงส์ | อนุกรรมการ |
5 | ดร.พีระ จิระโสภณ | อนุกรรมการ |
6 | ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ | อนุกรรมการ |
7 | ผศ.รุจน์ โกมลบุตร | อนุกรรมการ |
8 | ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตรณะนันท์ | อนุกรรมการ |
9 | นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคงสุข | อนุกรรมการ |
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจการต่างประเทศ
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1 | นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ | ประธาน |
2 | นายวิทิต ลีนุตพงษ์ | อนุกรรมการ |
3 | นายจักรกฤษณ์ แววคล้ายหงษ์ | อนุกรรมการ |
4 | นายสมนึก กยาวัฒนกิจ | อนุกรรมการ |
5 | นางสาวเบญจวรรณ เอกนิยม | อนุกรรมการ |
6 | นายชวรงค์ ลิมป์ปัืทมปาณี | อนุกรรมการ |
7 | นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ | อนุกรรมการ |
8 | นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ | อนุกรรมการ |
9 | ดร.สวราช สัจมาร์ค | อนุกรรมการ |
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายติดตามความเคลื่อนไหว
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อ
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1 | นางยุวดี ธัญญสิริ | ประธาน |
2 | นางสาวดวงกมล โชตะนา | เลขานุการ |
3 | นายตุลย์ ศิริกุลพิิพัฒน์ | อนุกรรมการ |
4 | นายบุญเลิศ คชายุทธเดช | อนุกรรมการ |
5 | นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ | อนุกรรมการ |
6 | นายสุทิน บรมเจต | อนุกรรมการ |
7 | นายก่อเขต จันทร์เลิศลักษณ์ | อนุกรรมการ |
8 | ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตรณะนันท์ | อนุกรรมการ |
9 | ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ | อนุกรรมการ |
10 | นายวีรศักดิ์ พงษ์อักษร | อนุกรรมการ |
——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ประเภท
|
1 | ดำฤทธิ์ วิริยะกุล | ที่ปรึกษา |
2 | อรุณ ลอตระกูล | ที่ปรึกษา |
3 | สวิชย์ บำรุงสุข | ประธาน |
4 | บุตรดา ศรีเลิศชัย | รองประธาน |
5 | สุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์ | เลขานุการ อนุกรรมการ |
6 | รัชฎา ปสันตา | อนุกรรมการ |
7 | อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ | อนุกรรมการ |
8 | จิตติพันธ์ อิศวพิพัฒน์ | อนุกรรมการ |
9 | โชติมา พรหมมิ | อนุกรรมการ |
10 | สราวุฒิ แซ่เตี๋ยว | อนุกรรมการ |
11 | ฐิติชัย อัฏฏะวัชระ | อนุกรรมการ |
[/wptab]
[wptab name=’สัมภาษณ์อาจารย์สุนิสา ประวิชัย’]
สัมภาษณ์อาจารย์สุนิสา ประวิชัย
มุมมองข้อกล่าวหา
ข่าวอาชญากรรมเป็นเหตุ ลอกแบบก่ออาชญากรรม
ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก หลายบริษัทต้องปิดตัวลง ประชาชนตกงานหลายแสนคน กระทั่งบัณฑิตจบใหม่ยังไม่มีงานทำอีกเป็นจำนวนมาก การก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ทวีปริมาณและระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น ปรากฎชัดตามรายงานของสื่อต่างๆ เป็นเหตุซ้ำซากและต่อเนื่องเสมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ ทำให้หลายคนมองว่า สื่อเองมีส่วนในการซ้ำเติมให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น เกิดการลอกเลียนแบบการก่ออาชญากรรมจากข่าวที่สื่อนำเสนอ ผิดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารมวลชน ที่ต้องการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้ดีขึ้น
อาจารย์สุนิสา ประวิชัย อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีมุมมอง ว่าสื่อมวลชนจะต้องนำเสนอข่าวความรุนแรง หรือข่าวอาชญากรรมอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด ในรายการวิทยุ “รู้ทันสื่อกับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ” ซึ่งออกอากาศเมื่อวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
มองการเสนอข่าวอาชญากรรมในปัจจุบันอย่างไร
ถ้าถามว่าทุกวันนี้ การนำเสนอข่าวอาชญากรรมทางสื่อมวลชน นำเสนอด้วยความรุนแรงจริงหรือไม่ รุนแรงเกินเหตุไปหรือไม่ และสื่อให้ความสำคัญหรือพื้นที่กับข่าวอาชญากรรมมากเกินไปหรือเปล่า โดยความเห็นส่วนตัวและจากผลการสำรวจ ที่ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำไว้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเห็นว่าสื่อให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมค่อนข้างมาก ทั้งการให้พื้นที่ โดยเฉพาะหน้าหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกฉบับ แต่ถ้าลองสำรวจดูจะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นอย่างที่ถูกกล่าวหาจริง
หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ใช่ เนื้อในอาจไม่ใช่มากนัก โทรทัศน์ก็มีเกือบทุกช่องเหมือนกัน ที่ระยะก่อนไม่หนักเท่าปัจจุบันนี้ แต่ทุกวันนี้จะเห็นว่าการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของโทรทัศน์มีการให้รายละเอียดค่อนข้างมาก และนำเสนอซ้ำๆ หนังสือพิมพ์นำเสนอรอบเดียว แต่โทรทัศน์มีการเสนอข่าวหลายช่วง แต่ละช่วงจะมีการนำเสนอภาพ เช่น ถ้ามีโทรทัศน์วงจรปิด จะเห็นขั้นเห็นตอนของการกระทำตั้งแต่เดินเข้าหาเหยื่อ เหนี่ยวไก และเหยื่อล้มลงขาดใจตาย นำเสนอวันหนึ่งหลายรอบ เห็นภาพแล้วรู้สึกว่ารุนแรงเกินไป ใครที่ได้ดูโทรทัศน์ในวันหยุดทั้งวัน จะรู้สึกได้ว่าข่าวตั้งแต่เช้าจนเย็น เรื่องๆ เดิมจะถูกนำมาฉายซ้ำหลายรอบมาก
ตรงนี้สอดคล้องกับผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ ที่ได้ทำร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2551 พบว่า ประชาชนมองเห็นว่า เนื้อหาของข่าวที่ต้องการให้หนังสือพิมพ์นำเสนอให้น้อยลง อันดับแรก คือข่าวและภาพข่าวอาชญากรรม ข่าวความรุนแรง ข่าวข่มขืน อันนี้มีผู้อ่านถึงร้อยละ 34.2 ที่เห็นว่าควรนำเสนอให้น้อยลงเป็นลำดับ อันนี้คือผู้อ่านทั่วไป
เมื่อพิจารณาผู้อ่านที่บอกว่าเป็นผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน ร้อยละเพิ่มขึ้นเป็นถึง 41.5 แปลว่าผู้ที่อ่านประจำยิ่งเห็นด้วยมากขึ้นว่า ควรลดการนำเสนอข่าวในเรื่องของข่าวอาชญากรรม ทั้งเนื้อหาและภาพให้มากกว่านี้
ส่วนเนื้อหาที่ต้องการให้นำเสนอมากขึ้น เป็นเรื่องของข่าวเจาะลึกทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การลงทุน ข่าววิทยาศาสตร์ หรือความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นการค้นพบใหม่ๆ มากกว่า ซึ่งออกในแนวที่ไม่ใช่แนวของข่าวอาชญากรรม
ในเรื่องของความรุนแรงที่พูดถึง ลักษณะของความรุนแรงที่นำเสนอทางสื่อ มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ภาพ อันนี้จะก่อหรือกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกได้ทันที ถ้าเสนอในหนังสือพิมพ์จะเป็นภาพที่เห็นเลือดแดงโดยแทบจะไม่พรางเลย ซึ่งในสมัยก่อนจะทำเป็นเบลอ หรือดำๆ บ้าง หรือถ้าเป็นโทรทัศน์ก็จะเห็นทุกขั้นทุกตอน ล่าสุด กรณีศพชาวต่างชาติ ที่บอกว่ามีศีรษะห้อยอยู่ใต้สะพานพระราม 8 หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอ และนำเสนอแบบไม่พราง และโคลสอัพไปใกล้ๆ เห็นกระทั่งแววตาของศพ ซึ่งเป็นเหมือนการฆาตกรรมซ้ำซ้อนอีกรอบหนึ่ง มันรุนแรงเกินไป จนดูแล้วกระทบกับจิตใจของผู้อ่าน ผู้ชม ค่อนข้างมาก
ส่วนที่สอง คือ ส่วนเนื้อข่าว จะมี 2 ส่วนเหมือนกันที่สะท้อนถึงความรุนแรง ทั้งการใช้ถ้อยคำ เช่น ข่าวอาชญากรรมเราจะคุ้นกับคำว่า กระซวก แทงยับ รัวไม่ยั้ง อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหมือนการนำเสนอภาพยนตร์แอ็คชั่น หนังฝรั่งประเภทเลือดท่วมจอ สิ่งที่น่ากลัวคือผู้อ่านหรือผู้ที่ชมอยู่รู้ว่านี่คือเรื่องจริง ต่างจากภาพยนตร์หรือการดูการ์ตูน หรือแม้แต่บอกว่าเด็กเล่นเกม เกมรุนแรงแต่นั่นเด็กก็ยังรู้ว่าคือเกม แต่อันนี้คนรู้ว่ามันคือเรื่องจริง ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นการรับรู้จะรุนแรงมากกว่ากัน
อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของการใช้คำบรรยาย จะพรรณนารายละเอียดขั้นตอนชัดเจน จนถ้าเป็นวัยรุ่นหรือคนที่มีแนวโน้มจะกระทำตามก็จะรู้สึกว่าทำตามได้ไม่ยาก หรือบางครั้งสื่ออาจจะไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ กรณีข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงภาคใต้ บางครั้งนำเสนอจนรู้สึกว่าโจรใต้เป็นพระเอก ที่สามารถฆ่าตำรวจและทหารได้ อันนี้ต้องระวังเหมือนกัน
การที่สื่อบรรยายข้อมูลลึกมาเกินไปบางครั้งอาจเป็นการชี้นำหรือการลอกเลียนแบบได้หรือไม่ หรือทำให้กลุ่มคนมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนได้
มีการถกกันค่อนข้างมากว่า การนำเสนอของสื่อเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาความรุนแรงหรืออาชญากรรมหรือเปล่า ในมุมมองส่วนตัวคิดว่า จะโทษสื่อเพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่ เพราะต้นเหตุของอาชญากรรมหรือความรุนแรงก็มีที่มาหรือปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งอาจจะแบ่งได้ 3 ลักษณะ ชัดๆ ว่า
ข้อแรกอาจเป็นเรื่องการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวหรือวัฒนธรรมของครอบครัว ว่าการเลี้ยงดู การบ่มเพาะของพ่อแม่อาจจะเป็นทำให้เด็กนิยมความรุนแรงโดยไม่ตั้งใจ เช่น พ่อแม่ใช้วิธีการลงโทษลูกด้วยวิธีรุนแรง ก็จะทำให้เด็กมีพื้นฐานก้าวร้าว และแก้ปัญหาด้วยวิธีการรุนแรง หรือไม่มีการพูดคุยหรือสอนสั่ง ซึ่งจะทำให้เด็กยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในการแก้ปัญหาต่อไป
อีกส่วนหนึ่งการก่ออาชญากรรมก็มีต้นเหตุหรือที่มาเหมือนกันนั้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้สังคมเราเองเป็นสังคมบริโภคนิยม ก็มีส่วนหล่อหลอมให้คนฟุ้งเฟ้อและยึดวัตถุ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน หรือแม้ผู้ใหญ่บางคนหาช่องทางในการจะหาเงิน เช่น พวกที่มีปัญหาการพนันบอล ติดยาบ้า ติดเกม หาช่องทาง แต่การนำเสนอข่าวอาชญากรรมแบบละเอียดแบบนี้ ก็จะไปช่วยกระตุ้นส่งเสริมชี้ช่องทางให้ แต่ต้นเหตุจริงๆ อาจจะไม่ได้มาจากการนำเสนอข่าว แต่เขามีปัจจัยของเขาอยู่แล้ว
อีกประเด็นหนึ่งที่เราชอบพูดถึงคือ การลอกเลียนแบบจากสื่อ ซึ่งจะเห็นกันว่าตรงนี้ถามว่ามีผลไหม ก็มีผลทั้งสองส่วน อันแรกคือเรื่องของการซึมซับของความรุนแรง จะทำให้เห็นว่าการฆ่ากันหรือการยิง แทงเลือดท่วมจอนั้นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติทุกวัน วันหนึ่งมีตั้งหลายรายด้วยซ้ำไป แล้วนำเสนอเป็นเรื่องที่นำเสนอโดยทั่วไปไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ และไม่ได้เป็นเรื่องที่ไปฮือฮาหรือให้ความสนใจ ในขณะเดี๋ยวกัน การนำเสนอแบบนี้ก็เท่ากับไปให้ข้อมูลพื้นฐานหรือเบื้องต้นให้กับคนที่จะทำอยู่แล้วสามารถที่จะต่อยอดได้เลย ถ้ามองว่าสื่อมีผลด้วยไหม ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีผล แต่ก็ไม่ใช่ต้นเหตุทั้งหมดของปัญหานี้
ถ้าเราตัดปัญหาเหล่านี้ออก วันนี้สื่อรายงานน้อยลงเบาลง หรือไม่นำเสนอข่าวประเภทนี้เลย อาจารย์จะมองว่าสื่อทำถูกต้องหรือไม่
ในมุมมองการทำข่าว สื่อก็ยังให้ความสำคัญกับข่าวอาชญากรรมอยู่ เพราะเราก็มองว่าเป็นประเด็นที่สำคัญในสังคมเหมือนกัน ถ้าเกิดอาชญากรรมเยอะ ๆ แล้วสื่อไม่ให้ความสนใจ สังคมไม่ให้ความสนใจ ก็จะเป็นปัญหาเหมือนกัน แต่มีวิธีการที่ให้ความสำคัญได้โดยไม่จำเป็นต้องต้องนำเสนอในเชิงรุนแรง หรือนำเสนอภาพในเชิงสยดสยอง แต่อาจจะใช้วิธีการรายงานในตัวเหตุการณ์ให้สั้นลงไม่ต้องบรรยายรายละเอียดมาก หรืออาจจะมีการไปสัมภาษณ์ หรือถ้ามีเด็กไปก่อคดีอาชญากรรม เมื่อปีที่ผ่านมามีเด็ก ม. 6 ก่อคดีไปล่อล่วงแท็กซี่ไปฆ่าชิงทรัพย์ และก็บอกว่าเลียนแบบมาจากเกมคอมพิวเตอร์ หรือเด็กผู้ชายบางคนไปก่อคดีทางเพศแล้วบอกว่าเลียนแบบมาจากวีดีโอ แต่การทำหน้าที่ของสื่ออาจจะไม่จบแค่การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่สามารถไปสัมภาษณ์นักจิตวิทยาหรือนักจิตเวทว่าต้นเหตุเป็นอย่างนี้ เกิดมาจากอะไร และสังคมควรช่วยกันแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง จะทำให้ข่าวนี้มีคุณค่าและมีประโยชน์กับทุกๆ ฝ่าย ไม่ใช่การนำเสนอให้เห็นว่าท้ายที่สุดแล้วเป็นเพียงการก่อคดีเท่านั้น
หรือหากบอกในแง่กฎหมายว่า การทำความผิดอย่างนี้ต้องรับโทษอย่างไร เพื่อให้คนอ่านข่าวได้ตระหนักถึงบทลงโทษ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรนำมาสอดแทรก
ใช่ คือมันก็มีหลักของมันในแง่ของการทำข่าวว่า การทำข่าวที่ดีต้องเป็นข่าวที่เจาะลึก แต่เราตีความคำว่า “เจาะลึก” อย่างไร หากเราตีความว่า การเจาะลึกคือการบรรยายรายละเอียดของเหตุการณ์ หรือการกระทำมันก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่คำว่า “เจาะลึก” ในที่นี้ต้องเจาะลึกตรงไหน มันถึงจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมมากที่สุด
สมมติว่าเป็นข่าวอาชญากรรมกรณีฆ่าชิงมรดกกัน สามารถเป็นข่าวเจาะได้ สมมติว่า ข่าววันที่ 1 ผ่านไป วันที่ 2 มาสัมภาษณ์บุคคล สภาพแวดล้อม ถึงความคืบหน้า หรือมูลเหตุในการฆ่าชิงมรดกกัน อย่างนี้ใช่หรือไม่ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และนำเสนอความถูกต้องและนำเสนอความต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่ลึกเกินไป ทำให้บางครั้งทำให้รู้สึกว่าเป็นการทำให้รูปคดีเสียด้วย
บางอย่างเหมือนกับว่าเรารู้เท่าไหร่ก็ไปเปิดเผยหมด ส่วนตำรวจเองก็อยากแสดงผลงานของตัวเองเช่นเดียวกัน นักข่าวเองก็อยากรายงานว่า ตนเองก็สืบข่าวมาได้เหมือนกัน บางครั้งก็ไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของตัวเอง ดังนั้น จึงต้องกำหนดจุดยืนของตัวเองให้มากขึ้น ว่าอะไรคือบทบาทหน้าที่ของตัวเอง อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า คือต้องตีความคำว่า “ข่าวเจาะลึก” ให้ถูกต้องมากกว่านี้
อาจารย์มองว่าการทำข่าวเจาะลึกต้องมีลักษณะอย่างไร
เวลาที่เราอ่านข่าวหลาย ๆ เรื่องเราจะรู้สึกว่า เรื่องนี้เรายังติดใจอยู่ เรายังไม่รู้ว่าเรื่องนี้จบอย่างไร แล้วต้นเหตุที่แท้จริงเป็นมาอย่างไร เรารอแล้ว 2-3 วันข่าวนั้นก็เงียบหาย แต่กลับมีข่าวอื่นเกิดขึ้นมา ทั้งๆ ที่เรื่องเก่าเรายังไม่ได้รับคำตอบเลยว่า ท้ายที่สุดแล้วเรื่องจบลงอย่างไร ใครถูก ใครผิด ต้นเหตุมาจากอะไร แบบนี้สังคมจะได้ประโยชน์มากกว่าการนำเสนอข่าวใหม่ไปเรื่อยๆ คือลงรายละเอียดแต่ไม่ตามข่าว ไม่เจาะลึกให้ อันนี้สื่อต้องทำการบ้านให้มากขึ้น หนักขึ้น แต่ว่าถ้าจะทำให้เกิดผลจริงๆ จะต้องลงทุน
พูดไปแล้วเหมือนกับว่าเราไปลงที่สื่ออย่างเดียว แต่มุมมองของตนเองเห็นว่า ทางแก้ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่สื่ออย่างเดียว ต้องมีหลายฝ่ายร่วมมือกัน แน่นอนสื่อเป็นปราการแรกที่ถูกจับตามมอง และคงต้องมี take action อะไรบางอย่างออกมา ในส่วนของสื่อนั้น อย่างแรกคือ เจ้าของสื่อหรือบรรณาธิการ สืบเนื่องกำหนดนโยบายการขายข่าวว่าจะขายข่าวแบบไหน ซึ่งแต่ละฉบับก็มีนโยบายเป็นของตัวเองอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือองค์กรที่ควบคุมดูแลสื่อด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สมาคมนักข่าววิทยุหรือโทรทัศน์ก็ตาม คงต้องออกมามีบทบาทมากขึ้น เพราะว่าจากผลสำรวจที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำนั้น ล่าสุดประชาชนยังให้ความไว้วางใจให้องค์กรสื่อควบคุมกันเอง ไม่ได้ไว้วางใจให้รัฐบาลมาควบคุมสื่อ แปลว่าเขายังเชื่อใจอยู่ เขาอาจจะมีแนวทาง เช่นการมอบรางวัลข่าว ภาพข่าวอาชญากรรม อาจจะต้องมารื้อเกณฑ์กันใหม่ว่าควรเป็นแบบไหน ถ้าเป็นภาพสยดสยองควรให้รางวัลหรือไม่ และไม่น่าจะพิจารณาเฉพาะที่ตัวภาพ แต่ควรพิจารณาภาพรวมของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ด้วยซึ่งอาจจะต้องมีการเพิ่มเกณฑ์อะไรบางอย่างเข้ามา
[/wptab]
[wptab name=’ขออภัย’]
ขออภัย
ตามที่ ”จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” ฉบับประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2552 มีข้อผิดพลาด ในย่อหน้าที่ 2 หน้า 12 ที่ระบุว่า…ยกเลิกพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2548 นั้น ที่ถูกต้องต้องเป็นพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 จึงขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
ผู้จัดทำ
[/wptab]
[end_wptabset]