จดหมายข่าวประจำเดือนม.ค – ก.พ. 52

[wptab name=’จดหมายข่าวประจำเดือนม.ค – ก.พ. 52′]

แถลง

จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ฉบับประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2552 ที่อยู่ในมือท่านผู้อ่านขณะนี้ เป็นฉบับแรกของปีใหม่ แต่จะเป็นฉบับสุดท้ายของคณะผู้จัดทำชุดนี้ เนื่องจากคณะกรรมการสภา การหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 5 จะครบวาระการดำรงตำแหน่งและส่งมอบงานต่อให้คณะกรรมการชุดใหม่สมัยที่ 6 เข้ามารับหน้าที่ต่อในวันที่ 6 มีนาคม 2552 นี้ คณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ตลอดจนคณะทำงานต่าง ๆ ที่เข้ามารับหน้าที่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จึงต้องหมดวาระลงไปด้วย

แต่ อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่า จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ หรือช่องทางการสื่อสารกระจายและรับข่าวสารข้อมูล ทั้งเรื่องราวจากการทำงานของคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติชุดใหม่ ซึ่งมีรายชื่อดังที่ปรากฎภายนในเล่มนี้ด้วยแล้วนั้น หรือการเปิดรับฟังข้อคิดเห็น เสนอแนะ แลกเปลี่ยนจากแวดวงวิชาชีพสื่อมวลชน หรือกระทั่งสังคมโดยรวม ยังคงต้องมีอยู่ต่อไป และจะกระฉับกระเฉง รวดเร็วทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น เพราะเลือดใหม่ย่อมสดและสอดรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะได้มากกว่า

สามปีของการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเราก็ทำให้จดหมายข่าวฯได้คลอดออกมาแจ้งข่าวสารความเคลื่อนไหว อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอมาจนถึงฉบับนี้

ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน

[/wptab]

[wptab name=’แนวโน้มทางบวกการรายงานข่าวสิทธิเด็ก’]

รายงาน

แนวโน้มทางบวกการรายงานข่าวสิทธิเด็ก

โดย อภิวรรณ เสาเวียง

เมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา มีการประกาศผลการประกวดข่าวและสารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก โดยสถาบันพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ต้นจาก UNICEF ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 ในงานยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและมุมมองต่อแนวโน้มการเสนอข่าวสาร ที่ส่งเสริมสิทธิเด็กในสื่อต่าง ๆ จากมุมมองของคณะกรรมการตัดสิน “จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” เห็นว่า มีแง่มุมข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ และจะเป็นประโยชน์ต่อการรายงานข่าวด้านนี้ของสื่อมวลขนต่อไป ซึ่งต้องขยับจากการรายงานข่าว”การละเมิดสิทธิเด็ก” สู่ขอบเขต”การส่งเสริม”ให้มากขึ้น จึงนำเสนอรายงานโดยละเอียดดังต่อไปนี้

สถาบัน พัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจาก UNICEF ได้ดำเนินโครงการประกวดข่าวและสารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิเด็กปี 2551 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ได้ผลงานส่งเข้าประกวดอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ที่มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 16 ชิ้นงาน จาก 8 สังกัด สื่อหนังสือพิมพ์มีผลงานส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 13 ชิ้นงาน จากหนังสือพิมพ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวม 7 ฉบับ และส่วนประเภทของสื่อวิทยุมีผลงานส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 7 ชิ้นงาน จาก 3 สถานีวิทยุ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการที่คร่ำหวอดในวงการมาเป็นผู้ตัดสินรางวัล และได้ประกาศผลอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่าน ซึ่งถือเป็นวันสิทธิเด็กสากล

โดยภายในงานได้จัดให้มีการสัมมนา แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากประธานคณะกรรมการการตัดสินข่าวทั้ง 3 ประเภท โดยมีนายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานกรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อวิทยุ นายสุริยนต์ จองลีพันธุ์ ประธานกรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ ประธานกรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ เป็นผู้มาร่วมแสดงความเห็นในครั้งนี้ โดยมีคุณนาตยา แวววีระคุปต์ กรรมการบริหารสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนิน รายการบนเวที

โดยนางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ ประธานกรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ กล่าวว่า จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทำให้มองเห็นแนวโน้มการรายงานข่าวที่ดีขึ้น มีความเข้มแข็งกันมาก และทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวดล้วนแต่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ แม้เปรียบเทียบกับสื่ออาชีพแล้วหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติยังเป็นรองในเรื่อง ของมุมมอง ความคิด และเรื่องทักษะที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ แต่หากน้องๆ สื่อฝึกปฏิบัติได้ก้าวเข้าสู่วิชาชีพสื่อมวลชนแล้วจะทราบว่า ในการทำงานจริงยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะหน่วยงานเล็กๆ ที่ต้องทำงานเองทุกอย่าง เนื้อข่าว พื้นที่ข่าว นับเป็นข้อจำกัดของวิชาชีพสื่อ หากเราสามารถให้พื้นที่กับสิ่งที่คิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่มีความสำคัญ เพราะเด็กก็คืออนาคตของชาติ ส่วนผลงานของสื่ออาชีพที่ส่งเข้าประกวด แม้จะมีข้อจำกัดอย่างไร ก็ยังนำเสนอได้อย่างมีพลัง และแฝงไว้ด้วยความสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังได้เห็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือผลงานทุกชิ้นจะมีใบปะหน้าที่ ระบุถึงความเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาข้อไหนบ้าง ไม่ใช่การส่งมาโดยไม่ทราบว่ามีความเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาอย่างไร

ประธาน กรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ กล่าวต่อด้วยว่า ในการทำงานต้องมีความภาคภูมิใจในงานที่ทำ และต้องตระหนักอยู่เสมอว่าสื่อมีหน้าที่มากกว่าการจดบันทึก เพราะฉะนั้นการสร้างโอกาส สร้างสรรค์ปั้นงานมาชิ้นหนึ่ง ถ้ามีความภาคภูมิใจ มีความคิดดีกับงานชิ้นนั้น จะเป็นสิ่งจำเป็นในการผลักดันให้สร้างสรรค์ผลงานที่ดีต่อไปในอนาคต แม้จะยังไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่พลังที่ปรากฏ ความถี่ ความต่อเนื่องจะส่งผลต่อประเทศชาติเอง แต่หากเป็นงานที่ทำเพียงเพื่อให้ผ่านไป ทำให้ไม่อยากอ่าน เพราะไม่รู้ว่าเขียนอะไรไป หรืออ่านแล้วแม้แต่ตัวเองยังไม่รู้เรื่อง ดังนั้นจะไปหวังให้คนอื่นเขารู้เรื่อง หรือประทับใจได้อย่างไร นับเป็นมาตรฐานขั้นต้นของการสร้างงาน

นางสาวรุ่งมณี ยังให้คำแนะนำในการเสนอข่าวด้วยว่า ในงานเขียนหนึ่งชิ้นต้องใช้เวลาในการปรับปรุงอย่างมาก สิ่งสำคัญคือการเริ่มประเด็น การสืบหาข้อมูลที่มาที่ไป และองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ ต้องยอมรับว่าในกระบวนการทำข่าววิทยุโทรทัศน์มีองค์ประกอบมาก ทั้งองค์กระกอบเรื่องเสียง ภาพ หรือภาษา ต้องอาศัยนักวิชาชีพที่มีประสบการณ์ นับเป็นเรื่องที่เหนื่อยแต่ทำแล้วสนุก

และจากผลการตัดสินที่ออกมานั้นนางสาวรุ่งมณีได้สะท้อนความคิดเห็น ของคณะกรรมการที่ร่วมตัดสินข่าวออกมาว่า ได้พยายามรวบรวมความคิดเห็นของคณะกรรมการในแง่มุมต่างๆ ออกมาแม้จะเป็นความคิดเห็นที่หลากหลายจากกรรมการแต่ละท่านที่มีทั้งความ เหมือน และความแตกต่างทางความคิด แต่เป็นความแตกต่างอย่างมีขอบเขตจำกัด และนำมาสู่การตกผลึกเป็นเส้นตรง

ด้านนายสุริยนต์ จองลีพันธุ์ ประธานกรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ กล่าวว่า โดยภาพรวมของงานที่ส่งเข้ามามีทั้งความก้าวหน้าและการอยู่กับที่ ความก้าวหน้าที่เห็นคือผลงานที่ส่งเข้าประกวด มีการป้องกันด้านสิทธิโดยการไม่ให้เห็นหน้าหรือรายละเอียดบางอย่างของผู้ที่ ตกเป็นข่าว แต่จะมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ต้องตระหนัก เช่น การไม่ให้เห็นหน้าลูก แต่กลับเห็นหน้าแม่อย่างชัดเจน ส่วนในเรื่องทางเพศจะไม่เห็นหน้าผู้ขายบริการ แต่เห็นหน้าคนอื่นแทน เพราะฉะนั้นทำให้เห็นว่ายังคิดได้ทีละขั้นแต่ยังคิดไม่หมด คิดไม่รอบคอบ ดังนั้นการทำงานด้านสิทธิจึงเสมือนกับลูกโป่งที่บีบตรงนั้นก็จะป่องตรงนี้ ดังนั้นเราจึงต้องคิดให้รอบคอบ กว้างขึ้น และครอบคลุมทั้งหมด

ประธาน กรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ กล่าวต่อว่า โดยกระบวนการของการผลิตรายการโทรทัศน์ที่ต้องทำอย่างรีบเร่ง ทำให้งานที่ออกมานั้นเป็นลักษณะของการรายงานข่าวอย่างจริงๆ แต่ข้อมูลยังไม่ลึกซึ้งไปถึงต้นตอ รากเหง้าของปัญหานั้นอย่างแท้จริง ทำให้ได้เห็นผลงานที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้เป็นลักษณะของการรายงานข่าว เช่น เรื่องสัญชาติ เรื่องปัญหาทางเพศ เป็นต้น แม้วันนี้จะมีหลายคนพยายามนำเสนอ เรื่องสุขภาพ เรื่องการรุกรานทางด้านวัฒนธรรม การที่พยายามทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงในเรื่องเชิงชนเผ่า เชื้อชาติ เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากผลงานที่ส่งเข้ามา แต่เป็นเหมือนเรื่องที่เราสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวันทำให้รู้สึกว่าเป็นการ วนเวียนอยู่กับการละเมิดสิทธิในเรื่องเดิมๆ ทั้งๆ ที่ปัญหามีอยู่เยอะกว่านี้ จึงมองว่าหากได้เห็นถึงปัญหา เรื่องสิทธิเด็กอย่างจริงจังแล้วนั้น อาจต้องมองไปถึงการนำเสนอของรายการทีวีที่เป็นประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากข่าว และปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่เป็นคนทำ แต่หากเป็นรายการที่เด็กทำอาจต้องระวัง ที่ผ่านมาจะพบเรื่องปัญหาเรื่องการใช้ภาษาเขียนในการรายงานซึ่งเป็นเรื่อง ที่ต้องระวัง และควรมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ และชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหา

นอกจาก นี้คุณสุริยนต์ยังได้สะท้อนความคิดเห็นของคณะกรรมการที่ร่วมตัดสินข่าวออกมา ด้วยว่าคณะกรรมการหลายท่านเป็นกรรมการชุดเดิม รวมทั้งคณะกรรมการผู้ใหญ่ในแวดวงทีวีด้วย ทำให้การพิจารณาจึงง่ายและรวดเร็ว และได้รับข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะที่ดี ที่เป็นประโยชน์มาก โดยไม่ได้มองที่รางวัลของการแข่งขัน และจากผลงานที่ส่งเข้ามานั้นทำให้เห็นในอีกบางมุม บางประเด็น และรวบรวมออกมาได้เป็นคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานมาก เพราะฉะนั้นเรื่องความแตกต่างจึงไม่ค่อยมีปัญหา และทำงานกันอย่างรวดเร็ว

ด้าน นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานกรรมการตัดสินข่าวประเภทสื่อวิทยุ มีความเห็นว่าในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ ค่อนข้างจะมีพัฒนาการ เพราะ 1. แม้ในขณะขับรถก็สามารถฟังวิทยุได้ 2. ความถี่ของวิทยุล้นหน้าปัดทั่วประเทศ เมื่อรวมถึงวิทยุชุมชน แต่จะเห็นว่าไม่มีรายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องเข้าไปดูแลให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการ ดูแลคลื่นความถี่ รวมทั้งด้านธุรกิจ สังคม ซึ่งจะมีใครที่หาช่วงความถี่และทำรายการที่ส่งเสริมเรื่องสิทธิเด็ก โดยคิดว่าอาจจะต้องแก้ปัญหาเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่มากในขณะ นี้ให้หันมาสนใจในเรื่องดังกล่าว แม้กระทั่งคลื่นวิทยุของรัฐเองจะมีรายการส่งเสริมสิทธิเด็กมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรข่าวของสถานีวิทยุยังน่าสนใจอยู่ แม้จะเป็นการเสนอเรื่องราวปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และมีการนำเสนอมาตลอดไม่ว่าจะเป็นข่าว หรือเสนอในรูปแบบใดก็ตาม แต่ขอให้มีน้อยประเด็น หรือประเด็นเดียวแต่ขยายประเด็นให้ครอบคลุม

เพราะ ฉะนั้นสื่อสิ่งพิมพ์ได้เริ่มและเดินหน้า ทั้งในรูปแบบของข่าว บทความ สารคดีเชิงข่าว จนนำไปสู่ข้อเท็จจริง มีเสถียรภาพที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย เปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ตาม แต่วิทยุกระจายเสียงยังใช้ไม่เกิดประโยชน์ ในขณะที่วิทยุสามารถกู้ชาติได้กับเรื่องๆ เดียวนี้ เพราะวิทยุออกอากาศได้ถี่กว่า เมื่อคนรับรู้ข่าวสารบ่อยๆ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง จากประสบการณ์ในการตัดสินข่าว ยังไม่เคยมีข่าวใดสมบูรณ์เต็มร้อยและให้กรรมการไปทำข่าวแล้วให้คนทำข่าวเป็น กรรมการก็จะโดนเหมือนกัน แต่เราจะไปบอกว่าตรงนั้นตรงนี้จะเป็นแบบนี้ “ในส่วนของวิชาชีพส่วนใหญ่มองเห็นเรื่องของสิทธิเด็ก แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องการนำเสนอ” นายบรรยงค์กล่าว

ประธานกรรมการ ตัดสินข่าวประเภทสื่อวิทยุ กล่าวต่อด้วยว่า ยังมีความเชื่อว่าถ้าจุดประสงค์ของวิชาชีพไม่ค่อยจะมีในวิชาชีพวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อหนังสือพิมพ์เองก็ตาม เมื่อเรามีอะไรในใจเราพูดกันได้ วิชาชีพของเรามีรูปแบบในการนำเสนอได้ อย่าไปยกเว้นในตัวเอง และอยากฝากว่าเรื่องของการรายงานข่าวเด็กติดเชื้อเอชไอวี ทีมีผลกระทบต่อเด็กเป็นการฆ่าเด็กให้ตายทั้งเป็น แต่เราสามารถเลี่ยงได้เพราะมีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่เป็นการทำร้ายเด็กอยู่

จาก ความคิดเห็นของกรรมการตัดสินข่าวทั้งสามท่านจะเห็นได้ว่า ผลงานที่ส่งเข้าประกวดในโครงการรายงานข่าวและสารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิ เด็กในปี 2551 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้จะยังไม่ดีถึงที่สุดแต่ก็ทำให้ได้เห็นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อแนะนำที่ได้จากกรรมการจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้สื่ออาชีพ และสื่อฝึกปฏิบัติเองเดินทางสู่ถนนวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป

[/wptab]

[wptab name=’ข่าวดีผลสำรวจส.สถิติ คนไทยอ่านนสพ.เพิ่มขึ้น’]

ข่าวดีผลสำรวจส.สถิติ คนไทยอ่านนสพ.เพิ่มขึ้น

รายงาน
โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงาน สถิติแห่งชาติ ได้เผยแพร่ผลการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2551 ซี่งมีข้อมูลหลายประเด็นที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นแนวโน้มการอ่านหนังสือของประชากรประเทศไทยในอนาคต โดยเยาวชนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 45 นาที สูงกว่าอัตราเฉลี่ย และแนวโน้มการอ่านหนังสือพิมพ์ยังสูงขึ้น มีรายละเอียด ดังนี้

สำนักงาน สถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2551 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน พ.ศ. 2551จากจำนวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 53,000 ครัวเรือน

การสำรวจที่ ผ่านมาสำรวจเฉพาะการอ่านหนังสือของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป แต่การสำรวจครั้งนี้ได้เพิ่มเรื่องการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี) และการอ่านหนังสือพิมพ์ของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปด้วย

1. การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก
การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก ในที่นี้หมายถึง การอ่านหนังสือในช่วงนอกเวลาเรียน ซึ่งเด็กเล็กอ่านด้วยตัวเอง รวมทั้งการที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังด้วย

1.1 อัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน
จากผลการสำรวจ พบว่า เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 36.0 เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านหนังสือใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 36.7 และร้อยละ 35.2 ตามลำดับ) แต่อัตราการอ่านหนังสือของเด็กเล็กมีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและ ภาค โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล เด็กเล็กในกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด (ร้อยละ 45.3) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด (ร้อยละ 31.3)

1.2 ความถี่ของการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน
เด็กเล็กที่อ่านหนังสือมีทั้งสิ้น 2.1 ล้านคนในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2 – 3 วันมากที่สุด (ร้อยละ 39.6) รองลงมาคือ อ่านทุกวัน และอ่านสัปดาห์ละ 4 – 6 วัน ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 18.5 และ 17.3 ตามลำดับ) และพบว่า มีเด็กเล็กที่อ่านหนังสือแต่อ่านนาน ๆ ครั้งอยู่ร้อยละ 14.9

2. การอ่านหนังสือของประชากร

2.1 อัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน

จากผลการสำรวจปี 2551 พบว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 66.3 ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 67.5 และ 65.1 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า อัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 และลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 66.3 ในปี 2551

เมื่อพิจารณา อัตราการอ่านหนังสือตามเขตการปกครองและภาค พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 77.7 และ 61.2 ตามลำดับ) กรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงที่สุดร้อยละ 85.8 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุดร้อยละ 58.2

2.2 อายุ
การอ่านหนังสือของประชากรมีความแตกต่างกันตามวัย กลุ่มวัยเด็ก มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุดรองลงมาคือกลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และต่ำสุดคือกลุ่มวัยสูงอายุ (ร้อยละ 81.5 78.6 64.3 และ 39.3 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า การอ่านหนังสือของกลุ่มวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่กลุ่มอื่นมี แนวโน้มลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีสื่ออื่นที่น่าสนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกมส์ เป็นต้น

2.3 ระดับการศึกษา
จากผลการสำรวจ พบว่า การศึกษาและอัตราการอ่านหนังสือ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า มีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้มีการศึกษาระดับต่ำกว่า แผนภูมิ 5 ร้อยละของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตาม
การอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน และระดับการศึกษาสูงสุด พ.ศ. 2551

2.4 ประเภทของหนังสือที่อ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน
หนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 71.0 รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และนิตยสาร (ร้อยละ 38.8 และ 35.4 ตามลำดับ) สำหรับแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรตำรา/หนังสือ/เอกสารที่ให้ความรู้ วารสาร/เอกสารประเภทอื่น ๆ ที่ออกเป็นประจำ และหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 24 – 29 และหนังสือประเภทอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.4

คนที่มีวัยแตกต่างกัน มีความสนใจเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกัน โดยวัยเด็กอ่านแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตรสูงสุดร้อยละ 82.0 รองลงมาคือนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น สำหรับวัยอื่นส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ รองลงมาจะเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกันตามวัย คือ วัยเยาวชนอ่านนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น วัยทำงานอ่านนิตยสาร และ วัยสูงอายุอ่านหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา

2.5 ประเภทเนื้อหาสาระของหนังสือที่อ่านนอก
เวลาเรียน/นอกเวลาทำงานเนื้อหาสาระที่ผู้อ่านหนังสือชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าว รองลงมาคือ บันเทิง สารคดี/ความรู้ทั่วไปและความรู้วิชาการ (ร้อยละ 50.9 39.1 31.9 และ 24.5 ตามลำดับ) ส่วนเนื้อหาสาระที่มีผู้อ่านเพียงเล็กน้อยคือ ความคิดเห็น/วิเคราะห์ โฆษณา และอื่น ๆ

2.6 เวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/
นอกเวลาทำงานสำหรับผู้อ่านหนังสือที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั้งหมด ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานเฉลี่ย 39 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มเยาวชนใช้เวลาอ่านหนังสือฯ เฉลี่ย 46 นาทีต่อวัน มากกว่ากลุ่มวัยอื่นที่ใช้เวลาอ่านหนังสือฯ ใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 37-39 นาทีต่อวัน

2.7 การอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่อ่านหนังสือในช่วงนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 3.2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของผู้อ่านหนังสือทั้งสิ้น โดยพบว่า มีอัตราการอ่านหนังสือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ชายและผู้หญิงใกล้เคียง กัน (ร้อยละ 7.8 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ) แต่อัตราการอ่านหนังสือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความแตกต่างกันตามวัยเขตการ ปกครอง และภาค

2.8 วิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ พบว่า วิธีการรณรงค์ที่ได้รับการเสนอแนะมากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ หนังสือควรมีราคาถูกลง ร้อยละ 28.7 หนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจร้อยละ 22.0 ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้านหรือชุมชนร้อยละ 19.8 ส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือร้อยละ 19.3 และภาษาที่ใช้ในหนังสือควรใช้ภาษาง่าย ๆ สื่อ ให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ ร้อยละ 13.1

3. การอ่านหนังสือพิมพ์

3.1 อัตราการอ่าน
ประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั้งหมด พบว่ามีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ จำนวนประมาณ 28.4 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 47.1 โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์ สูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 63.2 และร้อยละ 39.9 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์เป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดถึงร้อยละ 75.5 รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และน้อยที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 57.2 46.3 40.6 และ 33.3 ตามลำดับ)

เมื่อ เปรียบเทียบข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้กับการสำรวจสื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์ ปี 2538 และ 2546 พบว่า อัตราการอ่านหนังสือพิมพ์ของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.4 ในปี 2538 เป็นร้อยละ 37.3 และ 47.1 ในปี 2546 และ 2551 ตามลำดับ โดยที่ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์สูงกว่าผู้หญิง

3.2 อายุ
เมื่อพิจารณาการอ่านหนังสือพิมพ์ของประชากรตามกลุ่มวัย พบว่า วัยเยาวชนและวัยทำงานมีอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 57.2 และร้อยละ 55.7 รองลงมาคือ วัยสูงอายุ (ร้อยละ 25.5)และวัยเด็ก (ร้อยละ 19.4) เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ในอดีต พบว่า ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มในการอ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้น

3.3 ประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ที่อ่าน
ประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ที่ประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปชอบอ่านมากที่สุด คือ ข่าว ร้อยละ 89.0 รองลงมา คือ บันเทิง และสารคดี/ความรู้ทั่วไป (ร้อยละ 37.3 และ 31.6 ตามลำดับ)

(หมายเหตุ: อ่านรายงานผลสำรวจฉบับเต็มนี้ได้ที่ www. nso.go.th)

[/wptab]

[wptab name=’จากใจกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ’]

จากใจกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

การประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 27
กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เป็นการประชุมนัดสุดท้ายของกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 5 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งมา 3 ปีเต็มเป็นชุดแรก นับแต่มีการแก้ไขธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งขาติ ครั้งล่าสุด โดยในการประชุมดังกล่าว นายวีระ ประทีปชัยกูร รองประธานฯคนที่ 1 เป็นประธานที่ประชุม ได้กล่าวขอบคุณกรรมการทุกท่าน รวมทั้งขอให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้กล่าวความในใจถึงการทำงานที่ผ่านมา แม้หลายท่านจะให้เกียรติรับเป็นกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติต่อในสมัย ที่ 6 ดังนี้

สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

“สังคมมีหลักประกันคุณภาพข่าวสาร”

ยินดี ที่ได้มาร่วมผลักดันสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สิ่งหนึ่งคิดว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ที่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้พยายามทำให้การประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิชาชีพสื่อมีมาตรฐาน เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา หวังว่าอนาคตจะมีบทบาทเป็นสภาผู้ประกอบวิชาชีพจริงๆ เช่น คุรุสภา แพทยสภา หรือสภาทนายความ เป็นต้น ซึ่งดูจากแนวโน้มทิศทางก็จะไปทางนั้นอยู่แล้ว เมื่อดูจากข้อบังคับจริยธรรมแห่งวิชาชีพแล้ว ซึ่งจะทำให้สังคมมีหลักประกันว่าจะได้รับข่าวสารที่มีคุณภาพ ขอขอบคุณทุกท่านที่ยอมรับให้ผมมาทำงานนอยู่ในระยะหนึ่ง

ยุวดี ธัญญสิริ

“สถาบันสื่อประชาชนควรพึ่งได้”

ขอ ขอบคุณทุกท่าน ในฐานะคนในอาชีพเดียวกันที่มองเห็นว่าคนรุ่นอาวุโสยังมีประโยชน์ จึงยินดีที่จะรับใช้ ในส่วนที่สามารถรับใช้องค์กรได้ และคิดว่าสถาบันสื่อควรเป็นสถาบันที่ประชาชนหวังพึ่งพิงได้ การแข่งขันอะไรต้องยืนหยัดอยู่ในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคม

ทองใบ ทองเปาด์ 

“ผมอยากเป็นนักหนังสือพิมพ์มากกว่าอย่างอื่น”

ขอบคุณสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติที่ยังนึกถึงผู้ที่มีอายุมาก เราอยู่ในอาชีพนี้มาจนแก่ 90

กว่า ปีมาแล้ว ผมเคยพูดอยู่เสมอว่า ผมอยากเป็นนักหนังสือพิมพ์มากกว่าเป็นอย่างอื่น ผมชอบวิชาชีพนี้และทำมาตลอด ปัจจุบันนี้เปิดหนังสือพิมพ์ดู ทำให้เห็นว่าถึงแม้เราไม่ได้ทำข่าวอย่างที่เคยทำ แต่ยังเขียนคอลัมน์อยู่ และดีใจที่เราไม่ได้ขาดจากวงการนี้ และคิดว่าเราจะสามารถทำประโยชน์ให้แก่วิชาชีพหนังสือพิมพ์ได้

จาก ประสบการณ์ที่ในฐานะประกอบอาชีพนักข่าว ในฐานะที่เป็นทนายความ ในฐานะที่ได้พยายามส่งเสริมหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างให้แก่หนังสือพิมพ์ แต่ก็เสียดายที่หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่เราอยากให้ทำแต่ก็ยังทำไม่ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ ที่พยายามผลักดันแต่ยังไม่สำเร็จ

และ อีกอย่างที่อยากให้ทำคือหอเกียรติยศนักข่าวอาวุโสต่าง ๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบว่า นี่คือบรรพบุรุษคนหนังสือพิมพ์ของเราเช่นเดียวกับวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ผมจำได้ว่าในระหว่างปี 2519 นักหนังสือพิมพ์ถูกฆาตกรรมมาก เราจึงมาศึกษาจากในมุมตัวเราเองว่าทำไมเขาจึงมาฆ่าเรา แล้วจะแก้ไขอย่างไร

ตรง นี้ทำให้เกิดเป็นสถาบันวิชาชีพหนังสือพิมพ์ขึ้นมา และได้เผยแพร่ให้หนังสือพิมพ์ต่างจังหวัดเข้ามาศึกษาเพื่อหาทางลดปัญหา เพราะเราทราบว่าส่วนหนึ่งปัญหาเกิดขึ้นมาจากตัวเราเองด้วย

เนื่อง จากเมื่อก่อนจะมีการใช้อาชีพหนังสือพิมพ์บังหน้าเพื่อขอตั้งสมาคมขึ้นมา แต่ไม่ใช่เพื่อการส่งเสริมวิชาชีพ แต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายเท่านั้น ตั้งสมาคมกันขึ้นมาเพื่อตั้งโต๊ะสนุกเกอร์โต๊ะบิลเลียดกัน หรือความผิดบางครั้งใช้หนังสือพิมพ์เพื่อเล่นงานคนอื่นเขา จึงจำเป็นต้องแก้ไขในส่วนนี้ด้วย เพราะฉะนั้นการพัฒนาจึงต้องดูที่ตัวเราเอง และคิดถึงสิ่งที่เราทำมา

จะ เห็นได้ว่าจะมีประเทศไทยมีสมาคมผู้สื่อข่าวเยอะ และมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แต่เวลาจะเชิญหนังสือพิมพ์ไทยไปก็เกิดปัญหาขึ้นมาว่าจะเชิญองค์กรไหนดี เพราะฉะนั้นเราต้องทำเป็นหนึ่งเดียวขึ้นมา และดำเนินงาน ต่อมาเรื่อยๆ

สิ่ง ต่างๆ ก็ได้พยายามมารวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งกฎหมายว่าด้วยหมิ่นประมาท บางครั้งก็เจ็บปวดที่หนังสือพิมพ์ถูกฟ้องร้อง แล้วก็รีบไปขอขมาบุคคลเหล่านั้น ทั้งๆ ที่เป็นการฟ้องร้องเพื่อผิดปากสื่อไมให้เสนอข่าวต่อไปเท่านั้น เราต้องต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีของคนหนังสือพิมพ์จึงะถูกต้อง บางครั้งเจ้าของเขาไม่ได้คิดเหมือนเรา แต่จะคิดถึงด้านธุรกิจ แล้วมองว่าเป็นการเสียเวลาจึงไม่อยากยุ่ง

แต่ยังดีใจที่กรณีของ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้ต่อสู้คดีเพื่อศักดิ์ศรีของหนังสือพิมพ์จนถึงที่สุด คนอาจจะมองว่าหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ถูกฟ้องแล้วแพ้คดี ถูกปรับว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 236-237 แต่หากพิจารณาคำพิพากษาของศาล ท่านบอกด้วยในข่าวที่ขุดคุ้ย ว่าการซื้อที่ดินแปลงนี้เป็นการใช้เงินของประเทศชาติโดยไม่สุจริต เพราะฉะนั้นการที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวอย่างนี้ผลท้ายสุดต้องถือว่าชนะ เพราะที่สุดข้าราชการต้องยกเลิกการซื้อขายที่ดินแปลงนั้น

เพราะฉะนั้นจึงดีใจที่มีองค์กรที่มั่นคงอย่างนี้ขึ้นมา และดีใจที่ได้กลับมาช่วยงานอีกครั้ง

[/wptab]

[wptab name=’สำรวจผลงานเด่น 3 ปีกก.สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ’]

สำรวจผลงานเด่น 3 ปีกก.สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สมัยที่ 5 

วันที่ 6 มีนาคม 2552 นี้ คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่5 ครบวาระการดำรงตำแหน่ง และส่งมอบงานแก่กรรมการชุดใหม่ เพื่อรับไม้ต่อบริหารงานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติต่อไปอีก 3 ปี ให้ไปสู่เป้าหมายการยกระดับสู่ความเป็นสถาบันที่เป็นที่ยอมรับของแวดวง วิชาชีพและสังคม

ทั้งนี้ ตลอด 3 ปีการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 5 ที่ผ่านมา เป็นการทำงานในภาวะความผันผวนปั่นป่วนของสังคม แต่ก็ได้พยายามปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้เป็นเจตนารมณ์การก่อตั้ง ซึ่งมีภารกิจทั้งการกำกับควบคุมกันเองในหมู่สมาชิก ส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชน ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ผลงานที่เด่นชัดคือ การเคลื่อนไหวยกเลิกพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 เป็นผลสำเร็จ หลังจากวงการนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ต่อสู้เรียกร้องมาหลายสิบปี เพราะกฎหมายนี้เป็นเหมือนโซ่ตรวนจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมายาวนานกว่า 60 ปี และผลักดันให้มีการประกาศใช้พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2250

จากนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ตรงกันระหว่างหน่วยงานที่รับจดแจ้งฯ พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ที่มีความประสงค์จะออกหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงได้จัดประชุมชี้แจงสาระสำคัญของพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และเพื่อให้ความเข้าใจกระจายในวงกว้างจึงได้เดินสายชี้แจงพ.ร.บ.จดแจ้งการ พิมพ์ฯ แก่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคทั้ง 4 ภาค

นอกจาก นี้ยังได้ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแนวทางของ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ซึ่งพบว่ายังประสบปัญหาเรื่องการเดินทางไปจดแจ้งการพิมพ์ฯ ยังสำนักงานศิลปากรเขต ดังนั้นคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จึงได้เดินทางเพื่อหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวกับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในขณะนั้น ซึ่งรับปากว่าจะผลักดันให้สามารถยื่นจดแจ้งฯ ได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมประจำแต่ละจังหวัด พร้อมทั้งได้หารือแนวทางในการทำงานร่วมกันในหลายเรื่อง แต่แนวคิดดังกล่าวต้องตกไปเมื่อเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศที่ต้อง เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายคน พร้อมทั้งรัฐมนตรีทั้งคณะ

ภารกิจ ต่อมาคือ การออกบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวให้แก่สมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้แทนบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวของกรม ประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาในยุคคณะกรรมการสมัยที่ 4 รอยต่อคณะกรรมการสมัยที่ 5 ต่อเนื่องจากภารกิจดังกล่าวกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้เดินสายชี้แจงถึงเหตุผลในการจัดทำบัตรประจำตัวดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการ ยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งให้การตอบรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งการประสานการทำงานร่วมกันในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นต้น

นอกจาก นี้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หนังสือพิมพ์ในโรงเรียนซึ่งได้จัดทำเป็นประจำทุกปี การจัดอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพสื่อ ผ่านสถาบันอิศรา ซึ่งเป็นสถาบันที่ก่อตั้งโดยสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ และการร่วมกิจกรรมต่างๆ กับองค์กรสื่ออื่นๆ อีก

พร้อมกันนั้นยังมีงานเฉพาะกลุ่มของคณะ อนุกรรมการชุดต่างๆ ที่เปรียบเสมือนฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการทำงานของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไปข้างหน้า อาทิเช่น

ภารกิจในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการ พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ตามที่สรุปไว้ในคอลัมน์เปิดแฟ้มเรื่องร้องเรียน จะเห็นได้ว่าสถิติการร้องเรียนสื่อมวลชนได้ลดลงตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสื่อได้ตระหนักถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณของการรายงานข่าวมาก ขึ้น

ด้านคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ได้จััดทำโครงการวิจัย เรื่องสถานะภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย และ โครงการวิจัยเรื่อง กฎหมายหมิ่นประมาทกับเสรีภาพสื่อมวลชน โดยทั้ง 2 โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลอย่างดีในการพัฒนาวิชาชีพต่อไป

คณะอนุกรรมการ ส่งเสริมจริยธรรม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอยดูแลเรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณของสื่อมวลชน อีกทั้งยังส่งเสริมด้วยการจัดโครงการส่งเสริมจริยรรมหนังสือพิมพ์ดีเด่น ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำแนวปฏิบัติการนำเสนอข่าวในรูปแบบต่างๆ เพื่อไม่ให้ไปละเมิดสิทธิเรื่องส่วนตัว หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอีกหลายแนวปฏิบัติ โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์เป็นอย่างดี

นอกจาก นี้ยังมีงานในส่วนของคณะอนุกรรมการด้านอื่นที่เป็นกลไกส่งเสริมการทำงานซึ่ง กันและกัน เช่น คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ คณะอนุกรรมการฝ่ายติดตามความเคลื่อนไหวที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ สื่อมวลชน คณะอนุกรรมการกิจการระหว่างประเทศ และคณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ที่มีส่วนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อความรู้ความเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

จะเห็น ได้ว่าตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงานให้กับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระเพื่อควบคุมกันเองในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เป็นไปตามเจตนารมณ์การก่อตั้ง ที่มุ่งหวังที่จะเห็นวิชาชีพสื่อมวลชน ได้มีและใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และรับผิดชอบต่อสังคม เป็นที่พึ่งของสังคม ยกระดับวงการวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ และร่วมกับสังคมในการส่องสะท้อนบทบาทการทำหน้าที่ของกันละกันต่อไป

[/wptab]

[end_wptabset]