มารู้จักสภาการหนังสือพิมพ์อินเดีย

รู้จักสภาการหนังสือพิมพ์อินเดีย

สภาการหนังสือพิมพ์อินเดีย (The Press Council of India) เป็นหน่วยงานตามกฎหมายและเป็นกึ่งตุลาการในอินเดียที่ควบคุมการดำเนินงานของสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนประชาธิปไตยและรักษาเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อว่าจะยังคงดำรงอยู่หรือไม่  อย่างไรก็ตามสภาฯมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและตัดสินข้อร้องเรียนที่เหมาะสมหลังจากรับฟังปัญหาแล้ว อาจจะมีการตักเตือนหรือตำหนิหากพบว่าหนังสือพิมพ์มีความผิด

ตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2006 สภาฯตำหนิหนังสือพิมพ์รวม 3 ฉบับประกอบด้วย  Times of India (ออกที่เมืองDelhi และเมือง Pune), Punjab Kesari (ออกที่เมืองDelhi) และ Mid Day (ออกที่เมืองMumbai) เพราะละเมิดบรรทัดฐานการดำเนินการหนังสือพิมพ์  การทำงานของสภาฯอาจไม่มีใครตั้งคำถาม ยกเว้นมีข้อสงสัยว่าสภาฯใช้อำนาจเกินตัวคือละเมิดรัฐธรรมนูญ

สภาการหนังสือพิมพ์อินเดียก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1966 โดยรัฐสภาอินเดียเพื่อออกกฎเกณฑ์ดูแลหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้ได้จัดตั้งตามกฎหมายสภาการหนังสือพิมพ์ ค.ศ.1965 (the Press Council Act 1965)สภาฯเป็นหน่วยงานทำหน้าที่เสมือนองค์กรเฝ้าระวังและตรวจสอบการดำเนินงานของสื่อมวลชน,ทำหน้าที่ตัดสินเรื่องร้องเรียน,ดูแลการละเมิดจริยธรรมรวมทั้งปกป้องการละเมิดเสรีภาพของสื่อมวลชนด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการร้องเรียน

การร้องเรียนที่กระทำต่อหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์ใดๆที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าไม่เหมาะสมและมีผลต่อตัวเขาเองหรือเพื่อไม่ให้ตีพิมพ์เนื้อหาใดๆ ผู้ร้องเรียนจะต้องยื่นต่อบรรณาธิการหรือตัวแทนของสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องนั้นในกรณีที่ร้องเรียนแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้หรือไม่เป็นที่พอใจอาจยื่นเรื่องต่อสภาการหนังสือพิมพ์อินเดีย โดยการร้องเรียนจะต้อง

1.เขียนเฉพาะเรื่องร้องเรียน ภายใน 2 เดือนหลังจากที่บทความหรือข่าวนั้นได้รับการตีพิมพ์ (เฉพาะนสพ.รายวันและรายสัปดาห์) หากเป็นการร้องเรียนสื่ออื่นให้เวลา 4 เดือน

2.ถ่ายสำเนาต้นฉบับที่มีการร้องเรียน ในกรณีที่เป็นภาษาเอเชียใต้จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษแนบมาด้วย (ภาษาเอเชียใต้ประกอบด้วยฮินดู,ปากีสถาน,บังคลาเทศ,ศรีลังกา,เนปาล,ภูฏานและมัลดีฟส์)

3.ผู้ร้องเรียนต้องระบุในสิ่งที่ตีพิมพ์หรือไม่ใช่สิ่งพิมพ์ว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมหรือละเมิดต่อ พ.ร.บ.สภาการหนังสือปี 1978   4.แนบสำเนาจดหมายฉบับที่มีไปยังบรรณาธิการซึ่งชี้ให้เห็นว่าเหตุใดจึงถือว่าเรื่องที่ตีพิมพ์ไม่เหมาะสม

5.แนบจดหมายตอบของบรรณาธิการหรือที่ตอบทางหน้าหนังสือพิมพ์มาด้วย

6.เรื่องร้องเรียนที่ส่งถึงสภาฯจะต้องไม่ค้างคาหรือฟ้องร้องอยู่ที่ศาลใดๆ

ต่อหนังสือพิมพ์

1.หากหนังสือพิมพ์หรือนักหนังสือพิมพ์ เห็นว่าเรื่องร้องเรียน อาจกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกรวมทั้งกดดันตนหนังสือพิมพ์ก็สามารถยื่นร้องเรียนต่อสภาฯได้เช่นกัน

2.หนังสือพิมพ์หรือผู้สื่อข่าวที่รู้สึกว่าตนได้รับความเสียหายอาจแจ้งให้สภาฯทราบถึงเหตุผลที่เป็นไปได้จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจกระทบต่อนโยบายรวมทั้งเสรีภาพของสื่อมวลชน

3.หากคำร้องเรียนเป็นภาษาเอเชียใต้แปลเป็นภาษาอังกฤษแนบมาด้วย

4.เรื่องร้องเรียนมายังสภาฯจะต้องไม่ติดค้างหรือเป็นคดีอยู่ในศาลใดๆ

เมื่อได้รับการร้องเรียนแล้ว หากสภาฯโดยคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่เพียงพอที่จะไต่สวนได้ จะต้องแจ้งไปยังผู้ร้องเรียนให้ทราบและนำเรื่องเข้าพิจารณาโดยคณะกรรมการสอบสวนของสภาฯ

หากมีการสอบถามขึ้นมาและสภาฯมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าหนังสือพิมพ์ที่ต้องตอบคำถาม เป็นผู้ทำผิดและละเมิดบรรทัดฐานด้านการสื่อสารมวลชน สภาฯลงมติเห็นว่าความผิดที่เกิดจากการประพฤติมิชอบของหนังสือพิมพ์สามารถแนะนำให้ตักเตือน,ตำหนิหนังสือพิมพ์,ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติของบรรณาธิการหรือผู้สื่อข่าวแล้วแต่กรณี

นอกจากนี้อาจสั่งให้หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์คำร้องของผู้ร้องเรียนหรือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการตัดสินของสภาฯในฉบับถัดไป

ในทำนองเดียวกันเมื่อสภาฯ ยืนยันในข้อร้องเรียนของผู้ร้องเรียนแล้วอาจสั่งให้หนังสือพิมพ์หรือผู้สื่อข่าว ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขความไม่พอใจของผู้ร้องเรียน