ข่าว ราชดำเนินเสวนาเรื่อง “ทิศทางปฏิรูประบบสุขภาพ ยุค รัฐบาลประยุทธ์” (5 กันยายน 2557)
เมื่อเวลา 10.00น. ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุลชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน มีการจัดเวทีราชดำเนินเสวนาเรื่อง “ทิศทางปฏิรูประบบสุขภาพ ยุค รัฐบาลประยุทธ์” ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาเพื่อสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการ 60ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์คนสื่อ” โดยมีวิทยากรมาร่วมเสวนา ได้แก่ นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (AIDS Access) และตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ โดยมี ดร.วันวิสาข์ ชูชนม์ ผู้สื่อข่าววิทยาการ-สาธารณสุข หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
เวลาเราจะพูดระบบสุขภาพอยากให้มองภาพใยแมงมุมที่เชื่อมโยง ซึ่งระบบสุขภาพของไทยมีความงดงามก็เป็นระบบใยแมงมุง ที่แกนกลางคือกระทรวงสาธารณสุข(สธ). ที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนรวม ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับการชื่นชมจากนานาชาติอย่างมาก และคนไทยก็เข้าถึงระบบสุขภาพมีความสะดวกในการเข้าถึง และโรคภัยในอดีตก็หายไปมาก
แต่ระบบสุขภาพที่ดียังมีวิกฤต 4 เรื่อง คือ 1.วิกฤติโรคใหม่ คือ สถานการณ์การป่วยที่เกิดโรคใหม่จากหลายสาเหตุ มีปริมาณการรักษาและเทคโนโลยีมากมาย ดังนั้นวิกฤติที่โรคมันเปลี่ยน ถ้ารับมือไม่ทันและไม่ปรับกลยุทธ์ก็เอาไม่อยู่ 2.วิกฤติระบบการบริการของรัฐ คือ โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีคนไข้เยอะขึ้นมาก แม้ระบบรองรับได้ดีมาก แต่ระบบกำลังถึงทางตัน เพราะอยู่ในระบบราชการที่อุ้ยอ้ายเพราะมีบุคลากรที่สธ.ต้องดูแลมากถึง2แสนกว่าคน เมื่อระบบติดขัดแล้วเดินต่อไม่ได้ทำให้การบริหารลำบาก เพราะเงินเดือนก็แค่นี้ ค่าตอบแทนก็เท่ากัน เพาะระบบไม่สามารถบริหารจัดการได้ ขณะที่ท้องถิ่นมีความพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมแต่ระบบก็ยังไม่ไป ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนเองก็โตขึ้นทุกวัน
- วิกฤตศึกสายเลือด คือ ระหว่างหมอเมืองกับหมอชนบท ที่มีปัญหาช่องว่างมองและมีจุดยืนไม่เหมือนกัน และความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพ ระหว่างแพทย์ พยาบาล ลูกจ้าง ก็ทำให้วิกฤตินี้ระส่ำระสาย และนี่ยังไม่นับถึงวิกฤติแพทย์กับผู้ป่วยด้วย และ 4. วิกฤติระบบการนำสุขภาพ ซึ่งตนไม่ได้พูดถึงผู้นำ แต่เป็นวิกฤติภาวะการนำในระบบสุขภาพแห่งชาติ ที่การนำในยุคใหม่ต้องเป็นการนำโดยการนำแบบมีหุ้นส่วนหรือไปด้วยกัน ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ระบบก็คงอยู่ที่เดิมอย่างนี้ เพราะถ้ามองกลับไปที่สธ. ในช่วง10กว่าปี พบว่าเป็นวิกฤติการนำ การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้ใหญ่ไม่ใช่ระบบคุณธรรมซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่ใช้ความรู้ ความสามารถ แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่ได้มาจากการใช้วิชาการ การทำงานหรือความรู้ หรือมีวิสัยทัศน์ ซึ่งตนไม่ได้ว่าใครแต่ภาวการณ์นำกำลังมีวิกฤติแบบนี้ ซึ่งภาวะการนำแบบใหม่ต้องรวมศูนย์ นำแบบหุ้นส่วนและนำแบบสอดคล้องกับระบบใยแมงมุม
ผมขอเสนอ 5 สิ่งที่ควรปฏิรูป ที่คลุมทั้งระบบซึ่งผ่านมติจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแล้ว และคสช.ให้ความเห็นชอบส่งต่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาตอ(สปช.)แล้ว เพราะแต่เราไม่ได้หวังสปช.อย่างเดียว แต่หน่วยงานสามารถนำไปทำงานได้เลย ซึ่งการปฏิรูปไม่ใช่แค่เรื่องของเงินทองอย่างเดียว โดยสิ่งที่ควรปฏิรูป5ประการได้แก่ 1. การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการจัดการกับภัยคุกคามสุขภาพ 2.การปฏิรูปบริการสุขภาพ 3.การปฏิรูประบบการผลิต และพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ 4.การปฏิรูปการเงินการคลัง และระบบหลักประกันสุขภาพ และ5.การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
“ซึ่งงานนี้เป็นงานหนักของรัฐมนตรีใหม่ ที่หากว่าไม่ทำในวันนี้ จะหนักหนาในวันข้างหน้า ถ้าเราไม่รีบตัดสินใจ ดังนั้นสมาธิของกระทรวงสาธารณสุขต้องกลับมาในการทำเรื่องของระบบประกันสุขภาพ” อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tja.or.th/