ประกาศ
วารสารอิศราปริทัศน์
เรื่อง ขอเชิญส่งบทความเผยแพร่ในวารสารอิศราปริทัศน์
“อิศราปริทัศน์” เป็นวารสารวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ที่ประยุกต์ใช้มาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ด้านนิเทศศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับงานวิจัยและบทบาททางวิชาการของคณะกรรมการความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน และเพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่บทความของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและวิชาชีพนิเทศศาสตร์อื่นๆ ที่มีคุณค่าและองค์ความรู้อันเกิดจากประสบการณ์ทางวิชาชีพในด้านต่างๆ
ขอบเขตการรับบทความ
บทความวิจัย (research article) บทความวิทยานิพนธ์ (thesis article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทความวิชาชีพ (professional article) เมื่อได้รับบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองอ่านเบื้องต้น จากนั้นส่งให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ เพื่อให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะ และอาจขอให้ผู้เขียนแก้ไขตามที่เห็นสมควร ยกเว้นบทความ “เรียนเชิญประจำฉบับ” จะข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรือตอบรับเพื่อตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ร่วมของผู้เขียนกับวารสารฯ เฉพาะการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อตอบรับแล้วจะต้องไม่ตีพิมพ์ที่อื่น หลังจากนั้น เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน กรณีบทความเคยนำเสนอในการประชุมวิชาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือพิมพ์เผยแพร่ในภาษาอื่นๆ ควรแจ้งไว้ให้ชัดเจน และขอสงวนสิทธิ์ปฏิเสธหากพบว่า ได้ตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อนแล้ว
แนวคิดหลักการรับบทความ
แนวคิดหลักพิจารณารับบทความเพื่อการเผยแพร่ในฉบับนี้ มีแนวคิดหลัก คือ “จริยธรรมสื่อ” (Media Ethics)โดยจะเปิดรับบทความ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557
กำหนดพิมพ์เผยแพร่
ปีละ 2 ครั้ง ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม ถึง ธันวาคม โดยการสนับสนุนจากสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
คำแนะนำการจัดเตรียมต้นฉบับ
การจัดพิมพ์บทความ
– จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวของบทความ 12 – 15 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมรายการอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ระยะห่างจากขอบกระดาษ ด้านบน ด้านล่าง และด้านขวา 1 นิ้ว ส่วนด้านซ้าย 1 นิ้วครึ่ง ตั้งค่ากระจายตัวอักษร (alignment) แบบ Thai Distributed มีเลขหน้ากำกับ โดยกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบ single บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
– ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK พิมพ์ 1 คอลัมน์ โดยใช้ขนาดตัวอักษรดังนี้
ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 22 พอยต์ ตัวหนา
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวพิมพ์ใหญ่ ขนาด 16 พอยท์ ตัวหนา
ชื่อผู้เขียน ขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา
ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล์ของผู้เขียน (ฟุตโน้ต) ขนาด 12 พอยท์ ตัวธรรมดา
หัวข้อของบทคัดย่อ/ABSTRACT ขนาด 16 พอยท์ ตัวหนา
เนื้อหาของบทคัดย่อ/ ABSTRACT ขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา
คำสำคัญ/keywords ขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา
หัวเรื่อง ขนาด 18 พอยต์ วางตำแหน่งซ้ายสุดของหน้ากระดาษ ตัวหนา
หัวข้อหลัก ขนาด 16 พอยต์ ตัวหนา วางตำแหน่งให้ตรงกับย่อหน้า ตัวหนา
เนื้อเรื่อง ขนาด 15 พอยต์ ตัวธรรมดา ถ้าใช้ตัวอักษรแบบอื่น ก็ให้ใช้ขนาดตัวอักษรตามนี้
ส่วนประกอบของบทความ
- ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกคน พร้อมทั้งระบุตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งงานหน่วยงานที่สังกัด และอีเมล์ ที่ฟุตโน้ต
- บทคัดย่อ และ ABSTRACT ความยาวไม่เกิน 200 คำ คำสำคัญ และKeywords 3-5 คำ
- เนื้อเรื่อง
4.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย บทนำ (วัตถุประสงค์ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ
วิจัย) ทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย และอภิปรายผล
4.2 บทความวิชาการ /บทความปริทัศน์ /บทความวิชาชีพ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา
และบทสรุป
5. การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
6. ถ้ามีรูปภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ ต้องมีเลขหมายกำกับในบทความ อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ใช้รูปภาพที่มีความคมชัด และส่งต้นฉบับภาพถ่ายหรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบพร้อมบทความ
การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
- การอ้างอิงในเนื้อหา บอกแหล่งที่มาของข้อความใช้วิธีการอ้างอิงแบบนามปี โดยระบุชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย) ชื่อสกุลผู้เขียน (ภาษาต่างประเทศ) ปีพิมพ์ ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง เช่น
……………………… (ดรุณี หิรัญรักษ์, 2548) หรือ ……………………. (บรรยงค์ สุวรรณผ่อง และคณะ, 2550)
……………………… (Danis McQuail, 2001) หรือ …………………..(Gerbner & Gross, 2000)
- การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวมแหล่งข้อมูลที่อ้างอิง มาแสดงรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ เรียงลำดับตามตัวอักษร ด้วยระบบ MLA (Modern Language Association Style)
วารสารและนิตยสาร
ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (ฉบับที่), หน้าที่ปรากฏบทความ.
ตัวอย่าง
อนุสรณ์ ศรีแก้ว. 2544. พระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย.
วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. 5 (3): 8-17.
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. 2540. พระอาจารย์สุบิน ปณีโต. นิตยสารสารคดี. 13 (154): 105-118.
Maxwell E. McCombs andDonald L.Shaw. 1972. The Agenda-Setting Function of Mass Media.
Public Opinion Quarterly. 1972. Vol.36: 177-197.
หนังสือ
ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
ดรุณี หิรัญรักษ์. 2542. การสื่อสารมวลชนโลก. กรุงเทพฯ: เอเชียแปซิฟิก มีเดีย.
รุ่งมณี เมฆโสภณ. 2552. ถกแขมร์ แลเขมร. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.
Stanley J. Baran & Dennis K. Davis. 1995. Mass Communication Theory: Foundations, Ferment,
and Future. New York. Wadsworth Publishing.
รายงานการประชุม บทความ/เรื่อง หนังสือรวมเรื่อง รายงานประจำปี หรือสัมมนาวิชาการ
ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม, วันเดือนปี สถานที่จัดงาน. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
กวี จงกิจถาวร. 2550. การถูกเซ็นเซอร์และการเซ็นเซอร์ตัวเอง. การใช้เสรีภาพกับความรับผิดชอบของ
สื่อมวลชนไทยท่ามกลางวิกฤตประเทศ. ครบรอบ 10 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
หน้า 37-41. กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี. 2543. สื่อมวลชนกับการสื่อสารเพื่อประชาสังคม. พลเมืองไทย ณ จุด
เปลี่ยนศตวรรษ. หน้า 80-108. กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
โพยม วรรณศิริ, 2545. แนวทางสร้างกระบวนการยุติธรรมให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน.
ในสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวของสื่อมวลชนกับกระบวนการยุติธรรม. หน้า 24-30.
20 สิงหาคม 2545 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.
คณะทำงานการจัดทำเอกสาร. 2550. รายงานสรุปการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. 27 มีนาคม 2550 โรงแรมเชียงใหม่ออคิด. เชียงใหม่: สำนักนายกรัฐมนตรี.
วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา. สถาบันการศึกษา.
ตัวอย่าง
กิ่งปรางค์ สมจิตต์, 2542. ปัจจัยและแนวทางที่มีอิทธิพลในการคัดเลือกภาพข่าวอาชญากรรม
ที่มีเนื้อหาความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต. ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ……, จาก URL address
ตัวอย่าง
Morgan Cheeseman. 2010. The Potter Box: Ethical Guidance, in Potter Box on. University of
Kansas. Retrieved September 09, 2010, from
http://ethichelp.wordpress.com/2010/09/21/the_potter_box
การส่งต้นฉบับ
ต้นฉบับ 1 ชุด พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล ระบุชื่อและข้อมูลของผู้เขียนในจดหมายนำ ข้อมูลที่ระบุได้แก่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงาน คุณวุฒิการศึกษา (ชื่อปริญญาและสถาบัน) สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีมีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้ระบุผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author)
จัดส่งมายัง บรรณาธิการ วารสารอิศราปริทัศน์ 538/1 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 และส่งบทความดังกล่าว พร้อมจดหมายนำ มาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ isramediareview@gmail.com
#