นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทั ศน์ไทย ในฐานะประธานคณะทำงานสื่อเพื่ อการปฏิรูป เปิดเผยภายหลังการเข้าร่วมประชุ มกับ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิ รูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน โดยมี พล.อ.อ. คณิต สุวรรณเนตร เป็นประธาน ว่า “ในวันนี้ (9 มกราคม 2560) ตัวแทนคณะทำงานปฏิรูปสื่อ และองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 6 องค์กร ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสมาคมเคเบิลทีวีแห่ งประเทศไทย ได้เข้าร่วมประชุมกับ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิ รูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เพื่อเสนอแนะข้อคิดเห็น และเจตนารมณ์ขององค์กรวิชาชีพสื่ อ เกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิ ชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ………….
คณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรู ปและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้ติดตามและได้รับเชิ ญไปแสดงความคิดเห็นต่อร่ างกฎหมายดังกล่าวหลายครั้ง เพื่อให้การยกร่างกฎหมายเป็ นไปตามเจตนารมณ์ของร่างรั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ซึ่งยังคงหลักการสำคัญในการรั บรองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยอิ สระและปราศจากการแทรกแซงใดๆ จากการเมือง อันจะทำให้สิทธิการรับรู้ข่ าวสารอย่างรอบด้านของประชาชนสู ญเสียไป
อย่างไรก็ตาม จากร่างกฎหมายดังกล่ าวของคณะกรรมาธิการฉบับล่าสุดนั้ น ทางคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรู ปและองค์กรวิชาชีพสื่อ พบว่ามีเนื้อหาบางประการที่ สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกั นเองด้านจริยธรรมที่องค์กรวิ ชาชีพสื่อมวลชนดำเนินการอยู่แล้ วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีเนื้อหาอีกบางส่ วนที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของร่างรั ฐธรรมนูญ ที่ผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ซึ่งยังคงหลักการสำคัญในการรั บรองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยอิ สระและปราศจากการแทรกแซงใดๆ จากการเมือง อันจะทำให้สิทธิการรับรู้ข่ าวสารอย่างรอบด้านของประชาชนสู ญเสียไป
จากเหตุผลข้างต้น คณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรู ปและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้ง ๖ องค์กร จึงขอเข้าประชุมกับคณะกรรมาธิ การขับเคลื่อนการปฏิรูปด้ านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในวันนี้เพื่อเสนอความคิดเห็ นในประเด็นต่างๆ ต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการขั บเคลื่อนการปฏิรูปด้านการสื่ อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ดังต่อไปนี้
๑) การกำหนดให้มีการจัดตั้งสภาวิ ชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติให้เป็ นองค์กรตามกฎหมายที่มี อำนาจในการลงโทษตามกฎหมายแก่ผู้ ประกอบวิชาชีพและองค์กรสื่ อมวลชน ย่อมเป็นการเปิดช่องให้มี การแทรกแซงการทำหน้าที่อย่างเป็ นอิสระของสื่อมวลชนของฝ่ ายการเมืองโดยผ่านสภาวิชาชีพดั งกล่าว เช่น การแทรกแซงกระบวนการสรรหา โดยการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่ อมวลชนที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างแท้ จริง เข้ามาเป็นสมาชิกของสภาวิชาชี พสื่อมวลชนแห่งชาติ
๒) การร่างกฎหมายดังกล่าว ควรยึดโยงกับร่างรัฐธรรมนูญอย่ างเคร่งครัด โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการคุ้ มครองเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขณะที่การส่งเสริมจริ ยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่ อมวลชน เป็นหน้าที่ขององค์กรวิชาชีพสื่ อมวลชน ในการกำกับดูกันเองในสื่อหนังสื อพิมพ์ หรือการกำกับดูแลร่วมกับองค์ กรของรัฐที่เป็นอิสระในกรณี ของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ไม่ใช่การร่างกฎหมายให้มีองค์ กรตามกฎหมายที่มีความเสี่ยงต่ อการถูกแทรกแซงมาควบคุมองค์กรวิ ชาชีพอีกชั้นหนึ่ง ขณะเดียวกัน ควรมีการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสั งคมเข้ามามีส่วนร่ วมในกระบวนการกำกับดูแลกั นเองของสื่อมวลชนให้มากขึ้น
จากเหตุผลและข้อมูลข้างต้น คณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรู ปและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้ง ๖ องค์กร ขอเสนอให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่ อนประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาการขับเคลื่อนประเทศ พิจารณาทบทวนการเสนอกฎหมายที่มี เนื้อหาขัดกับเจตนารมณ์ของร่ างรัฐธรรมนูญ และการธำรงไว้ซึ่งสิทธิเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็ นของประชาชนและสื่อมวลชน ในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสื บไป
ประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิ รูปกล่าวต่อไปอีกว่า “อยากให้สื่อมวลชนผู้ประกอบวิ ชาชีพสื่อสารมวลชน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้ โดยตรง ร่วมกันติดตามกฎหมายฉบับนี้อย่ างต่อเนื่อง เพื่อความเป็นอิสระของสื่อมวลชน โดยปราศจากการใช้ อำนาจแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่ อมวลชนโดยผ่านองค์กรใดองค์กรหนึ่ งซึ่งจะมีการจัดตั้งขึ้นมาตาม กฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะในประเด็นให้มีการจัดตั้ งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติขึ้ นมาเพื่อใช้อำนาจทางกฎหมาย เนื่องจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ การเมืองและธุรกิจเข้ ามาแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่ อมวลชน ซึ่งจะกระทบต่อสิทธิในการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารของประชาชนโดยส่ วนรวม”