นักวิชาการ-สื่ออาวุโสดึงสติสื่อไทย รายงานข่าวอิสราเอล-ปาเลสไตน์ อย่ามองด้านเดียว ตรวจสอบข้อมูลให้ครบ

นักวิชาการ-สื่ออาวุโส ดึงสติสื่อไทย รายงานข่าวเหตุปะทะอิสราเอล-ปาเลสไตน์ อย่ามองด้านเดียว ตรวจสอบข้อมูลให้ครบ อย่าใช้แค่ไวด์เซอร์วิสซื้อข่าวมาแปลอย่างเดียว แนะศึกษาประวัติศาสตร์ ต้นเหตุเกิดจากอะไร อย่าขยายความขัดแย้ง 

รายการวิทยุ “รู้ทันสื่อกับสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ” ประจำวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ออกอากาศทางคลื่น FM 100.5 อสมท. พูดคุยเรื่อง “ข่าวสู้รบ อิสราเอล–ปาเลสไตน์ “เร็ว” ดีจริงหรือ..?”  ดำเนินรายการโดย ณรงค สุทธิรักษ์ และจินตนา  จันทร์ไพบูลย์ ผู้ร่วมสนทนา ประกอบด้วย ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ อดีตบรรณาธิการ เดอะ เนชั่น บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ รองประธานคณะอนุกรรมการ ฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล สื่ออาวุโส นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และผู้จัดรายการ โลกยามเช้า FM 96.5

จากกรณีเกิดเหตุการณ์กลุ่มฮามาสที่ปกครองฉนวนกาซา ยิงจรวดขีปนาวุธโจมตีหลายจุดในประเทศอิสราเอล ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้อิสราเอลตอบโต้โจมตีกลับกลุ่มฮามาส โดยผ่านมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 13 วัน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งพลเรือน และทหารหลายพันคน อย่างไรก็ดีสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการรายงานข่าว ทั้งการเลือกข้าง หรือการรายงานแบบอคติ รวมถึงการเผยแพร่ข่าวปลอมจำนวนมาก เนื่องจากต้องการยอดการเข้าถึงของคนดู โดยไม่ตรวจสอบข้อมูล เป็นต้น

ย้อนประวัติศาสตร์กำเนิดชาวยิวรุกพื้นที่ปาเลสไตน์

ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ อดีตบรรณาธิการ เดอะ เนชั่น อธิบายเรื่องความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล ว่า ความจริงไม่น่าขัดแย้งถึง 4 พันปี กลุ่มเผ่าพันธุ์ที่เรียกตัวเองว่าชาวยิวที่อพยพมาที่ปาเลสไตน์ ไม่น่าจะเป็นยิวแท้ แต่เป็นยิวเทียมมากกว่า คือเผ่าพันธุ์กาตาร์ คือพวกอาศัยบริเวณจอร์เจีย หรือยูเครน ณ เวลานี้ เป็นเผ่าเติร์กเผ่าหนึ่ง เร่ร่อน ขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ คล้าย ๆ พวกเติร์กที่ตั้งประเทศตุรกีขึ้นมา ในศตวรรษที่ 9-10 ค่อนข้างเรืองอำนาจ โดยในช่วงเวลานั้นถูกโจมตีทั้งจากข้างบนคือรัสเซีย หากแพ้ต้องไปนับถือคริสต์นิกายออร์โทด็อก และข้างล่างคือเปอร์เซีย หากแพ้ต้องไปนับถือมุสลิม ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นเผ่าเร่ร่อนนี้ ซึ่งไม่ได้มีศาสนาอย่างเป็นทางการ ถือโอกาสเข้ารีตนับถือจูดา หรือศาสนายิว เพื่อที่จะปกป้องเผ่าพันธุ์ตัวเองจากรัสเซีย หรือเปอร์เซียกลืนไป หลังจากนั้นกลุ่มนี้ก็ล่มสลายและย้ายถิ่นฐานไปอยู่ยุโรปตะวันออกเป็นหลัก กระจายอยู่ทั่ว ไม่มีบ้านช่องของตัวเอง เหมือนคนยิปซี

พวกนี้ประสบความสำเร็จสูงทางการเมือง และสามารถสร้างอิทธิพลทางธนาคาร และด้านการเงินมานานหลายร้อยปี กระทั่งช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกเขามีแนวคิด “ยูลิสแบงเกอร์” หรือ “ยิวแบงเกอร์” ต้องการสร้างรัฐยิวขึ้นมา เพื่อที่จะรวบรวมชาวยิวที่กระจายในยุโรปกลับไปสร้างถิ่นฐาน เพราะต้องการกลับไปเยรูซาเลม เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของโลกใหม่ เลยมีกลุ่มในศตวรรษที่ 19 ขึ้นมาชื่อกลุ่มไซออนนิสต์ พวกนี้รวบรวมเงินทองต่าง ๆ บริจาค และสนับสนุนพวกที่มีเชื้อสายยิวในยุโรป และยุโรปตะวันออก เดินทางมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนปาเลสไตน์ในปัจจุบัน ซึ่งอังกฤษเป็นโต้โผสนับสนุน เพราะคือผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1

พวกยิวจากยุโรปที่มา ถ้าดูดีเอ็นเอไม่ใช่ยิวแท้ แต่ยิวแท้คือชาวปาเลสไตน์ที่อยู่พื้นที่เดิมมา 2 พันปีแล้ว แต่เป็นช่วงเวลาต่อเนื่องจากสงครามครูเสด ที่ศาสนาคริสต์และมุสลิมต่อสู้กันแย่งชิงนครเยรูซาเลมเพื่อต้องการให้เป็นศูนย์กลางของโลกต่อไป ต้องไม่ลืมว่านครเยรูซาเลมคือบ่อเกิดของศาสนาในโลกที่สำคัญ 3 ศาสนา คือ ยูดา คริสต์ และอิสลาม แต่พวกฮังกาเรียนที่มองตัวเองเป็นยิว อาจไม่ได้นับถือคริสต์ หรืออิสลาม หรืออาจไม่ได้นับถือยูดาที่แท้จริง แต่ระบบความคิดความเชื่อโบราณเขาอาจสืบไปถึงกษัตริย์โซโลมอน พระเจ้าของเขาคือพระเจ้าฝ่ายดำ ไม่ใช่พระเจ้าฝ่ายขาวเหมือนฝ่ายคริสต์ เลยต่อสู้กันมาตลอด

ทนง กล่าวว่า ต่อมายิวมีอิทธิพลเหนืออังกฤษ และอเมริกา ทำให้มีคลัง มีอำนาจมากขึ้น จึงไม่เป็นการยากในการตั้งรัฐยิวขึ้นมาอย่างเป็นทางการในปี 1948 และค่อย ๆ ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกไป นำชาวยุโรปที่เป็นยิวมาอยู่ในดินแดน แต่จริง ๆ ชาวยุโรปไม่ต้องการย้ายบ้าน ทำให้ชาวยิวต้องสร้างปรากฎการณ์ฮิตเลอร์ขึ้น เกิดสงคราม มีการกดขี่ขึ้น ก่อนประกาศว่าอยู่ยุโรปไม่ปลอดภัย ทำให้ชาวยิวอพยพมาที่ดินแดนที่อ้างว่าพระเจ้าจัดสรรให้ มาก่อตั้งรัฐยิวจนถึงปัจจุบัน มีประชากรราว 6 ล้านคน เมื่ออยู่ที่ใหม่ก็ต้องขับไล่คนเก่า คือปาเลสไตน์ออกไป ทั้งที่ชาวปาเลสไตน์อยู่พื้นที่เดิม และอยู่ภายใต้อาณาจักรออตโตมัน กระทั่งล่าสุดชาวปาเลสไตน์มีดินแดนเหลือแค่ฉนวนกาซา เวสต์แบงก์ และเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งน้อยนิด นี่คือพื้นที่ก่อนเกิดสงคราม 6 วันในปี 1967 และยิวทำสงครามเอาชนะกองทัพของมุสลิมที่รวมตัวกัน เพราะได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และอังกฤษ ทำให้ครอบครองดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด

“อย่างไรก็ดีหากอยากให้เหตุการณ์สงบ คือต้องมีการตกลงระหว่าง 2 รัฐคือ อิสราเอลอยู่ของตัวเองไป ส่วนปาเลสไตน์ก็อยู่ไปเรียกว่ารัฐปาเลสไตน์ คือฉนวนกาซา เวสต์แบงก์ และเยรูซาเลมตะวันออกเป็นเมืองหลวง ซึ่งมีหลายประเทศเห็นด้วยกับข้อตกลงนี้ แต่อิสราเอลไม่ยอม ต้องการมีรัฐเดียว จึงต้องการขับไล่ชาวปาเลสไตน์เป็นเพียงคนกลุ่มน้อย อังกฤษ และสหรัฐฯ สนับสนุนอิสราเอลเต็มที่ เรื่องจึงคาราคาซังมาจนปัจจุบัน ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์จัดตั้งกลุ่มฮามาสขึ้นมา จนทำให้เกิดความเกลียดชังแก่กัน และปาเลสไตน์สู้ไม่ได้ เพราะไม่มีกำลังทหาร ตำรวจ หรืออาวุธหนัก ขณะที่อิสราเอลมีทหาร ไม่มีทางที่จะสู้กันได้ จึงถูกกดขี่กันมาก จนต้องมีการระเบิด หรือปะทะกันอย่างต่อเนื่อง” ทนง กล่าว

ก่อนหน้าที่พวกฮามาสยิงขีปนาวุธใส่อิสราเอลในวันที่ 7 ตุลาคมนั้น 2 วันก่อนที่เวทียูเอ็น เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล ไปโชว์แผนที่ของอิสราเอลปัจจุบัน ซึ่งเป็นอิสราเอลเดียว ไม่มีปาเลสไตน์ในแผนที่เลย ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ก็เกิดปะทะกันขึ้นระหว่างพวกที่ต่อต้านปาเลสไตน์ เพราะชาวปาเลสไตน์เขาจะขึ้นไปสักการะมัสยิดอัลอักซอ หรือที่เรียกว่า “โดมศิลา” เป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม และจอร์แดนก็ดูแลพื้นที่นี้อยู่ เปิดทางให้ชาวมุสลิมไปสักการะ แต่อิสราเอลไปขัดขวางไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ไป เพราะเขามองว่าพื้นที่นี้เดิมทีเป็นที่ตั้งของมหาวิหารโซโลมอนแห่งที่ 1 และ 2 รอวันความฝันอันสูงสุดคือทำลายมัสยิดนี้ เพื่อสร้างมหาวิหารโซโลมอนแห่งที่ 3 เกิดขึ้น จึงประกาศไม่ให้ชาวมุสลิมไปประกอบพิธีทางศาสนา จนเกิดเหตุปะทะอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล ลึกซึ้งมากกว่าดินแดน เป็นเรื่องของความอยู่รอด จิตวิญญาณ และเรื่องทางศาสนาที่ต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน

ชี้ชาวยิวมีอิทธิพลเหนือสหรัฐฯ

เมื่อถามว่ากลุ่มยิวที่มีสัมพันธภาพแนบแน่นกับสหรัฐฯ โดยกลุ่มยิวไปควบคุมสถาบันการเงินของสหรัฐฯแทบทั้งหมด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สหรัฐฯต้องยืนเคียงข้างอิสราเอล จะทำให้คล้ายกับว่าเวลานี้ เสมือนหนึ่งว่าอิสราเอลได้เปรียบปาเลสไตน์มาก ทนง มองว่า สหรัฐฯอาจไม่ได้เปรียบกลุ่มฮามาสเหมือนเดิม เพราะสหรัฐฯอ่อนแอลง เหมือนตอนเกิดสงครามยูเครนใหม่ ๆ ทุกคนคิดว่ารัสเซียแพ้ เพราะไม่มีทางสู้สหรัฐฯได้ แต่ปัจจุบันสหรัฐฯจะไม่ได้สนับสนุนทางการเงินแก่ยูเครนอีกแล้ว ทำให้ถูกมองว่าไม่ได้เข้มแข็งจริง

ในอดีตสหรัฐฯเคยทำสงครามในอัฟกานิสถาน อิรัก ลิเบีย ซีเรีย แม้แต่ในปากีสถาน ปรากฏไม่มีใครแทรกแซง เพราะตอนนั้นสหรัฐฯเข้มแข็งสุด แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ตอนนี้อิหร่านเข้มแข็งมาก จีน รัสเซียก็เช่นกัน ขณะที่ซาอุดิอาระเบียกับอิหร่านตอนนี้จับมือกันแล้ว ถ้าหากว่ามีการรังแกพวกฮามาส หรือชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาจนเกินมนุษยธรรม อาจทำให้เกิดสงครามระหว่างประเทศได้ หากถึงจุดนั้นเราอาจได้เห็นแนวร่วมมุสลิมส่งกองทัพเข้าไปช่วย และจากเรื่องภายในประเทศกลายเป็นเรื่องระดับภูมิภาคขึ้นมาทันที

หวั่นเกิดสงครามครั้งใหญ่ ชาติอาหรับรุมกินโต๊ะสหรัฐฯ-อิสราเอล

ทนง มองว่า การที่ฮามาสกล้าทำแบบนี้ว่า ถึงจุดแล้วที่ต้องปลดแอกปาเลสไตน์จากอิทธิพลของอิสราเอล ณ ขณะเดียวกันรัสเซีย อิหร่าน พันธมิตรอย่างจีนมองเห็นแล้วว่า ภารกิจสงครามยูเครนกำลังจะจบลงแล้ว ในเมื่อจะจบลงก็หันเหมาที่อิสราเอลแทน เพราะเป็นพ่อของสหรัฐฯ ทำให้ทุกคนพุ่งเป้า และส่งสัญญาณให้ฮามาสโจมตีเปิดเกม ถ้าอิสราเอลตอบโต้ ก็อาจเห็นกองกำลังของชาติพันธมิตรมุสลิม หรือโลกอาหรับ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเลย แต่คราวนี้หลังจากรัสเซีย จีนเข้มแข็งขึ้น รัสเซีย และจีนเป็นผู้ที่ให้รับประกันความมั่นคงทางด้านการทหารกับตะวันออกกลาง ทำให้ไม่กลัวแล้ว เพราะถูกสหรัฐฯ กับอังกฤษกดขี่มาหลายร้อยปี จึงต้องจับมือกับจีนและรัสเซีย เริ่มก่อหวอดด้วยการใช้ปาเลสไตน์เป็นสงครามตัวแทนในการจัดการ หรือลดอิทธิพลของอิสราเอล

“ต้องดูว่าอิสราเอลกล้าไปลุยหรือไม่ ตอนนี้กำลังเตรียมตัวที่จะเข้า และหนีไม่พ้นที่จะต้องลุย ไม่อย่างนั้นจะถูกมองว่าอ่อนแอ ขณะที่สื่อต่าง ๆ ที่เป็นโลกตะวันให้ภาพผิดเพี้ยนว่ายิวเป็นฝ่ายถูกกระทำ ทั้งที่เป็นฝ่ายกระทำมาตลอด และรุกรานดินแดนคนอื่นเขา” ทนง กล่าว

เมื่อถามว่า คิดว่าสงครามนี้จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นไหม หากอิสราเอลเข้าไปตะลุยฉนวนกาซาจริง ๆ ทนง มองว่า แน่นอน จะเกิดสงครามอาร์มาเกดดอนหรือเปล่า ตามคัมภีร์ไบเบิล หากเกิดสงครามใหญ่ สงครามล้างโลก เมื่อสงครามจบ พระเจ้าของอิสลาม จะปรากฏตัวขึ้น เป็นการทำสงครามล้างโลกครั้งสุดท้าย มีความเป็นไปได้สูงว่า สงครามอิสราเอลนี้จะพัฒนาสู่สงครามโลก ดูตัวละครสิเท่ากันหมดเลย เดิมทุกคนมองแคบว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฮามาส แต่ไม่ใช่ เป็นความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฮามาสก็จริง แต่คืออิสราเอลกับอิหร่านที่เป็นคู่ชกแท้จริง ขณะที่อิหร่านเริ่มมีพันธมิตรพี่ใหญ่ให้การสนับสนุนเต็มที่คือจีนและรัสเซีย ภาคตะวันออกกลางความมั่นคงเปลี่ยนไปคือตุรกีผู้เล่นรายใหญ่ มาเป็นพวกด้วย หากเกิดสงครามขึ้น เราจะเห็นโลกมุสลิมรุมกินโต๊ะ เหลือแต่อิสราเอลโดดเดี่ยวมาก ๆ ขณะที่กองทัพเรือของสหรัฐฯ นำเรือบรรทุกเครื่องบินมาจอดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะช่วยได้เหรือ ยุโรปจะช่วยอิสราเอลอย่างไร ลำพังแค่สงครามของยูเครนก็ทำให้ยุโรปไม่ไหวแล้วด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน เป็นต้น

เผยต้นเหตุปะทะ เกิดจากอิสราเอลรุกกินแดนปาเลสไตน์ก่อน

ขณะที่ บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ มีข้อสังเกตถึงกรณีสื่อในเอเชียส่วนใหญ่มองว่าการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับฮามาส แต่สื่อตะวันตกมักให้ภาพกว้างคือมองว่าอิสราเอลสู้กับปาเลสไตน์ เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ ดังนี้

สงครามครั้งนี้อย่าเรียกว่าสงคราม เท่าที่ทำข่าวมา 40 ปีข่าวแรกที่ทำคือข่าวเรื่องปาเลสไตน์กับตะวันตก ตัวเลขสรุปว่า 3 ปีสงครามย่อย 5 ปีสงครามใหญ่ เกิดเหตุปะทะรุนแรง แต่ครั้งนี้จะเห็นว่าทำข่าว 2 สงครามซ้อนกันคือสงครามอิสราเอลกับฮามาส และสงครามในโซเชียลมีเดีย สื่อตะวันตกใช้ข้อมูลพวกนี้มากมาย แต่ในฐานะมีผลประโยชน์ได้เสียอยู่เยอะ ปรากฏว่า คือบอกว่าอิสราเอลถูกกระทำ แต่ไม่ได้บอกว่าต้นเหตุของการปะทะครั้งนี้คืออะไร จากนโยบายอาณานิคมยิวเข้าเขตยึดครองปาเลสไตน์ ที่เป็นดินแดนปกครองตนเองที่สหประชาชาติรับรอง แล้วคุณขยายนิคมเข้าไป คุณใช้รถแทร็กเตอร์ไปไล่ที่เขา ชาวปาเลสไตน์เดี๋ยวนี้เหมือนผู้อพยพในบ้านตัวเอง แล้วสื่อเล่นแต่ภาพความรุนแรงต่าง ๆ ข่าวออกจนตอนนี้ สื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯหลายสื่อ เช่น นิวยอร์กไทม์ส เริ่มตรวจสอบและเซ็นเซอร์ตัวเองถ้าไม่มีมูลความจริง เพราะฉะนั้นสื่อยักษ์ใหญ่กำลังกำกับตัวเองแล้ว หลังปล่อยให้เกิดภาวะพวกนี้ออกมาเป็นสัปดาห์

ข่าวเริ่มเล่นใหญ่ตั้งแต่ฮามาสบุกเข้ามาในอิสราเอล โดยอาศัยช่องโหว่มีการศึกษาอย่างดี ต้องถือว่าเป็นอีกกรณีศึกษา แต่เขาไม่ได้เล่นก่อนหน้านั้น ที่พูดถึงคือรัฐบาลอิสราเอลรุกล้ำพื้นที่ปาเลสไตน์ แทบตกทะเลแล้ว ไม่มีพื้นที่จะอยู่แล้ว และการนำเสนอข่าวของพวกเรา นำเสนอแต่ภาพความรุนแรง แต่อิสราเอลไม่มีสิทธิใช้ความรุนแรงไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ หรือกุข่าวขึ้นมา หรือจริงปนเท็จ ไม่มีสิทธิข้ออ้างความรุนแรง มาอ้างจะละเมิดกฎหมายว่าด้วยมนุษยธรรม

ตอนนี้หลายคนอาจสะใจบอกว่า นี่ไงอิสราเอลตัดน้ำตัดไฟในพื้นที่ฉนวนกาซา และให้อพยพออกใน 1 วัน จริง ๆ แล้วคือการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ อิสราเอลไม่มีสิทธิใช้ในเรื่องนี้ อีกเรื่องคือเราอย่าไปวาดฝัน ตอนนี้มีตัวประกันเยอะขึ้น เราภาวนาให้ปล่อย แต่บทเรียนที่ศึกษามากรณีตะวันออกกลาง และอิสราเอล รวมถึงสหรัฐฯที่มีการจับตัวประกัน การช่วยเหลือตัวประกันด้วยกำลังอาวุธคือตัวประกันตายหมด คนไปช่วยเหลือเขาไม่คิดว่าจะช่วยเหลือให้มีชีวิตแบบในหนังฮอลีวู้ด แต่เขาต้องการกวาดล้างกลุ่มคนก่อการลักพาตัว ที่สำคัญเหตุการณ์นี้ตัวประกันเขาแยกจับขัง

“พูดในฐานะนักข่าว จริง ๆ คือเราภาวนาให้เขารอดชีวิตอยู่แล้ว ถ้าคุณไปได้ข่าวว่าช่วยเหลือจุดนี้ออกมา จุดอื่นอาจตอบโต้ทันควันด้วยการสังหารตัวประกัน เป็นเรื่องอันตรายหากใช้กำลัง เพราะตัวประกันมีเยอะ” บุญรัตน์ กล่าว

อีกข้อที่อยากพูดคือบทบาทของสหรัฐฯ ที่ผ่านมาเราก็รู้อยู่แล้วสหรัฐฯสนับสนุนอิสราเอลตลอด โดยเฉพาะด้านอาวุธ เช่น มีรายงานข่าวว่าอิสราเอลได้เครื่องบินรบทันสมัยอย่างนั้นอย่างนี้ จู่ ๆ มีข้อบังคับว่ากระทรวงกลาโหมของอิสราเอลและสหรัฐฯ ห้ามสื่อรายงานว่าอาวุธอิสราเอลทันสมัยแค่ไหน แต่สหรัฐฯช่วยเหลืออย่างมาก โดยเฉพาะโดรนสังหาร แล้วคุณใช้วิธีการนี้ออกมา ตัวที่สหรัฐฯใช้เป็นข้ออ้างอยากเข้าร่วมวงคือ มีชาวสหรัฐฯเสียชีวิตหรือถูกจับเป็นตัวประกัน ที่ผ่านมาข้ออ้างพวกนี้ หากสหรัฐฯต้องการขยายวงความขัดแย้ง จะประณามว่าเป็นการก่อการร้าย หลังจากนั้นจะเริ่มโจมตีชาติเหล่านั้น ก่อนจะปล่อยให้สื่อสหรัฐฯออกข่าวลวง

แต่ความจริงพวกนี้มักถูกบิดเบือน ถ้าไม่ตามข่าวใกล้ชิดตลอดเวลา จะถูกครอบงำด้วยข่าวเท็จ เพราะฉะนั้นบทบาทของสหรัฐฯตอนนี้ต้องการขยายวง และหลังจากนี้ต้องจับตามอง อย่างไรก็ดีท่ามกลางความขัดแย้งมีข่าวดีอยู่คือ ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียมาจับมือเป็นมิตรกับอิหร่าน การที่จะดึงซาอุดิอาระเบียที่เคยเป็นเครื่องมือของสหรัฐฯในการก่ออะไรในตะวันออกกลาง ตอนนี้สหรัฐฯก็ไม่มีแล้ว เพราะภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยนไป ทำให้การทำสงครามของสหรัฐฯยากมากขึ้น

“สรุปบทเรียนเรื่องนี้คือ ควรใช้การเจรจา หาประเทศเป็นมิตรกับปาเลสไตน์และฮามาส และอย่าเรียกฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย เขาเป็นผู้บริหารฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ คู่กับฟาตาห์ องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ แล้วสหรัฐฯไปตราหน้าว่ากลุ่มนี้เป็นผู้ก่อการร้าย ดังนั้นสื่อควรเรียกฮามาส ว่าฮามาส” บุญรัตน์ กล่าว

ดึงสติสื่อไทย ยึดจรรยาบรรณเคร่งครัด อย่าขยายความขัดแย้ง

เมื่อถามว่า การนำเสนอข่าวที่แตกต่างกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก บุญรัตน์ มองว่า สื่อต้องมีสติ ต้องมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รู้ลึกเรื่องข้อมูล และสื่อต้องยึดหน้าที่เคร่งครัด ไม่ขยายวงความขัดแย้ง เรียกร้องการเจรจา หรืออะไรก็ตาม ขณะที่ประชาชนควรเสพสื่ออย่างมีสติ โดยเฉพาะสงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ เป็นสงครามอมตะนิรันดร์กาล เกิดขึ้นตลอดเวลา สื่อต้องทำหน้าที่อย่างเดียวคือตรวจสอบข้อเท็จจริง และมีจรรยาบรรณในการรายงานข่าว อย่าเป็นเครื่องมือของสื่อตะวันตกที่เราจะเห็นว่า ตอนนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือมาก อย่าลืมว่านักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน ผู้คุมสื่อในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นชาวสหรัฐฯเชื้อสายยิว เขามีเป้าหมายอยู่แล้วของเขา  สื่อต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณ อย่าตกเป็นเครื่องมือ อย่างที่บอกว่าตอนนี้กำลังทำสงคราม 2 สงคราม คือสงครามที่เกิดในฉนวนกาซา และสงคราในโซเชียลมีเดีย ซึ่งแรงมากจริง ๆ            

เมื่อถามว่า กรณีสื่อไทย ไม่ได้เข้าไปทำข่าว ไม่ได้เห็นภาพจริง ต้องซื้อข่าวจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสื่อตะวันตก เราจะต้องทำอย่างไร บุญรัตน์ มองว่า ความเป็นนักข่าวจะรู้เลยว่าภาษามีอิทธิพลมากในการเสพสื่อ ภาษาที่ใช้ต้องพยายามดูว่า ไม่เรียกว่าการก่อการร้าย ไม่สะท้อนความรุนแรง ต้องอ้างแหล่งข่าว แม้แต่ในสื่อตะวันตกก็ต้องกรองเช็คข่าวจริง อะไรก็ตามไม่รีบนำเสนอ ต้องให้ข้อมูลทั้งหมดว่า ความขัดแย้งครั้งนี้มาจากอะไร อย่าเล่นตามข่าวรายวัน ไม่อย่างนั้นเราก็นำเสนอแบบนั้น

ถึงบอกไงว่าตอนนี้สิ่งที่คนไทยต้องห่างไกลอย่างมาก และไม่ได้ศึกษาคือ ข้อเท็จจริงต้นเหตุของการปะทะครั้งนี้ เราไปจับประเด็นย่อยคือ อาวุธมาจากไหน ไม่สำคัญ สำคัญที่คนใช้ และตอนนี้อย่างที่บอก อย่าใช้ข้ออ้างว่าตัวเองถูกกระทำด้วยความรุนแรง แล้วไปกระทำด้วยความรุนแรงยิ่งกว่า จนละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ต้องหาช่องทางทางการทูตในการเจรจา มาเป็นแนวทางแก้ไข อย่าไปกระตุ้นให้คนเกลียดชังมากขึ้น เช่น การไปสัมภาษณ์นักการทูตก็ได้ ไม่ใช่ทำแบบข่าวรายวัน

ชี้การซื้อข่าวจาก ตปท.ต้องค้นข้อมูลเพิ่มประกอบด้วย

เมื่อซักอีกว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นจริง ๆ สื่อไทยใช้วิธีไวด์เซอร์วิส หรือซื้อข่าวจากสำนักข่าวตะวันตกแทบทั้งนั้น จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ใส่สีใส่ไข่บ้าง แต่ทุกวันนี้ โลกมันพัฒนา ข้อมูลข่าวสารเต็มไปหมด แต่บางสื่อก็ยังนิยมใช้วิธีซื้อข่าวอยู่ ไม่หาข้อมูลเพิ่มเติม มีข้อแนะนำอย่างไร บุญรัตน์ มองว่า ในไวด์เซอร์วิสสื่อตะวันตกเคยสอนเราว่า ช่วงต้นคือประเด็นข่าว ท้าย ๆ ไม่เป็นอะไร แต่ท้าย ๆ ในแง่ปฏิบัติจริงคือข้อมูล เราต้องอ่านให้แตก แม้ว่าเราจะใช้บริการไวด์เซอร์วิสก็ตาม เราจะรู้ข้อมูล

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เกาหลีเหนือจะบุกเกาหลีใต้แล้ว นำเสนอเป็นเดือน แต่ท้ายข่าวเขียนว่า ขณะนั้นกำลังจะครบร้อยปีคิม อิล ซุง คาดว่าเป็นการสวนสนาม แต่ตอนต้นบอกว่าจะยกทัพบุกตลอด ปัจจุบันคือออนไลน์ ทุกวันนี้อ่านสื่อออนไลน์ บางสื่อไม่ต้องพึ่งไวด์เซอร์วิสเลย แต่อ่านข่าวออนไลน์ที่อื่น และจะได้ข้อมูลอื่น ๆ ให้ความคิดกว้างขวางมากขึ้น การใช้แต่ข่าวไวด์เซอร์วิสตอนนี้แค่เป็นข้ออ้าง แต่ในทางปฏิบัติดูจากสื่อออนไลน์อื่น ๆ ประกอบด้วย เพราะฉะนั้นอยู่ที่ความขยันและความรับผิดชอบของคุณว่า ต้องการนำเสนอข่าวรอบด้าน ใช้จรรยาบรรณมากขึ้น ทำงานหนักมากกว่าเดิม ในภาวะวิกฤติอย่างนี้คุณต้องตื่นตัวด้วย จรรยาบรรณต้องสอนคุณว่าสิ่งที่เป็นจริงเป็นอย่างไร

แนะอย่าตื่นเต้นเรื่องความสูญเสีย ควรคุ้ยต้นตอปัญหา

ส่วนการประเมินสถานการณ์สู้รบในครั้งนี้ คิดว่าฝ่ายตะวันตกกับตะวันออกกลาง ถึงขั้นจะปะทะกันหรือไม่ หรือว่าเป็นสงครามตัวแทนแบบนี้ตลอดไป บุญรัตน์ มองว่า คิดว่าจำกัดกรอบในฉนวนกาซา เวสต์แบงก์อยู่ อย่างที่บอกว่าภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยน การที่ตะวันออกกลางจะเข้ามาคงไม่ถึงอย่างนั้น นอกจากนี้ต้องหาช่องทางเจรจากลุ่มประเทศอาหรับที่มีความสัมพันธ์กับปาเลสไตน์ด้วย ซึ่งอย่าให้บานปลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อเป็นเดือน นอกจากนี้อย่าตื่นเต้นเรื่องข่าวความสูญเสีย แต่เมินเฉยเรื่องการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แน่นอนเราห่วงตัวประกันชาวไทย และคนอื่น ๆ รวมถึงชะตาชีวิตของชาวปาเลสไตน์ที่ถูกโลกเมินเฉยตลอด เขาเป็นคนในพื้นที่ แต่บัดนี้ถูกไล่ออกแทบตกทะเลแล้ว แต่ไม่มีใครพูดถึงนโยบายขยายนิคมยิวเข้าพื้นที่ปาเลสไตน์

“จำไว้อยู่อย่างเดียวคุมสื่อคือครองโลก และทำให้ได้ข้อมูลผิดพลาด ไม่รอบด้าน นักข่าวต้องมีความรอบรู้ ขอให้น้อง ๆ หมั่นศึกษาประวัติศาสตร์ ข้อมูลพวกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต” บุญรัตน์ กล่าว

“สมเกียรติ” ชี้สื่อไทย-เทศรายงานข่าวคล้ายกัน เน้นผลประโยชน์คนในชาติ

ด้านสื่ออาวุโสอย่าง สมเกียรติ อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดระหว่างอิสราเอลกับฮามาส ในฐานะเป็นสื่อระดับอาจารย์ มองการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศกับสื่อไทยเหมือนหรือต่างอย่างไร ว่า ก่อนอื่นมีความเห็นว่า ข่าวนี้ทำให้สื่อไทยตื่นตัว รายงานทุกกระแสหลัก กระแสรอง ทุกคนลุยเรื่องนี้กันตามสไตล์ของตัวเอง พวกสื่อกระแสหลัก วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือพวกยูทูบเบอร์ สะท้อนให้เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ สะเทือนความรู้สึกผู้คน อาจเป็นเรื่องคนรุ่นใหม่ไม่เคยเห็นมาก่อน เกิดผลในทางปริมาณข่าวคือทำกันเยอะ และทำในมุมมองของไทยบ้าง เพราะพุ่งเป้าไปว่าคนไทยได้รับผลกระทบ ถือเป็นรูปแบบการทำงานตั้งแต่สมัยโบราณ

ข่าวต่างประเทศต้องทำให้คนดูคนฟังคนไทยรู้ว่าเกี่ยวอะไรกับเรา นี่คือความแตกต่างระหว่างสื่อไทยกับสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะสื่อสหรัฐฯ แตกต่างทำนองเดียวกันนะ ไปดูสื่อยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ เต็มไปด้วยคนสหรัฐฯถูกจับ นักการเมืองสหรัฐฯเข้าไปหนุนหลังอิสราเอลเต็มที่ สไตล์เดียวกันคือผลประโยชน์แต่ละชาติ เช่นเดียวกับสื่อไทย ทั้งยักษ์ใหญ่ หรือสื่อรอง มีแนวทางทำข่าวย้อนมาถึงผลประโยชน์ของประเทศไทย

เตือนนายกฯระวังคำพูด อาจชักศึกเข้าบ้าน

แต่มีประเด็นอย่างหนึ่งที่สื่อไทยทำแล้วคิดว่าดี คือการวิเคราะห์วิจารณ์ความไม่รอบรู้นายกฯ หรือนักการเมืองไทย นี่ต้องพูดตรง ๆ ว่า ถ้าไม่เตือนนายกฯรู้ว่าที่ทำไป ไม่อย่างนั้นจะเกินเลย โดยเฉพาะนายกฯมือใหม่ กับทีมงานของท่านที่มาเพื่อมนุษยชาติ ประณามฮามาส เข้าข้างอิสราเอล กระทรวงการต่างประเทศแก้ต่างแทบไม่ทัน

เมื่อถามว่า สื่อต่างชาติจัดให้ไทยอยู่ฝ่ายอิสราเอลเรียบร้อยแล้ว เพราะนายกฯไทยประณามฮามาส สมเกียรติ มองว่า ถึงบอกไงว่าถอยหลังไม่ได้แล้ว เมื่อประณามฮามาส เข้าข้างอิสราเอล วิญญูชนเห็นปุ๊บก็ตัดสินปั๊บ ขณะที่สื่อไทยโดยภาพรวมก็ดีอย่างที่ว่าไม่ได้เข้าข้างรัฐบาล บางแห่งตำหนินายกฯอย่างรุนแรง ถือว่าทำหน้าที่ตรวจสอบผู้มีอำนาจรัฐ ตามหลักวิชานิเทศวารสารศาสตร์เลย ผู้มีอำนาจรัฐต้องถูกตรวจสอบโดยสื่ออิสระ ส่วนนายกฯจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ถ้านายกฯ และทีมงานนายกฯของท่าน มีประสบการณ์พอ แต่ในที่นี้พิสูจน์ว่าไม่มี เหลือแค่กระทรวงการต่างประเทศเท่านั้นที่มีประสบการณ์พอ ดังนั้นถ้าสื่อไทยลำเอียงแบบนี้ ต้องไม่ลืมว่าไทยเป็นดินแดนหลบภัยของผู้ก่อการร้าย เพราะผู้ก่อการร้ายมาหลบที่นี่ สะดวกสบาย ตำรวจก็คอร์รัปชั่นได้ นี่คือเรื่องที่สื่อไทยต้องเตือนว่าต้องระวัง

ต้องย้อนกลับไปดูว่าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับปาเลสไตน์หรือไม่ เพราะในอดีตไทยตอนหลังที่สหประชาชาติประกาศรับรองปาเลสไตน์ ไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่รับรองด้วย ปัจจุบันปาเลสไตน์มีดินแดนตัวเองไม่มาก ประมาณ 22% แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า อิสราเอลมาเอาดินแดนปาเลสไตน์ไป หลังจากนั้นมีสงครามกลางเมืองภายใน และสงครามอิสราเอลกับอาหรับ เกิดขึ้นจนทำให้อิสราเอลชนะอีก อิสราเอลได้ดินแดนปาเลสไตน์ไปอีก 22% ลองคิดดูว่าดินแดน 100% ของปาเลสไตน์ถูกเอาไปเฉยเลย ที่เหลือหลังสงครามอาหรับ ดินแดนที่เหลือ 56% ที่ควรเป็นของปาเลสไตน์ ก็ไปอยู่ในชาติอาหรับพันธมิตร ปัจจุบันปาเลสไตน์เหลือดินแดนนิดเดียว

อย่างไรก็ดีสหประชาชาติตกลงให้ปาเลสไตน์เป็นผู้สังเกตการณ์ ไทยก็รับรอง แต่วันนี้รัฐปาเลสไตน์ คือเขตปกครองตนเอง แปลว่า เรามีความสัมพันธ์ทางการทูตทั้งกับปาเลสไตน์และอิสราเอล แล้วเราจะเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำไม เราไม่ได้มีส่วนได้เสีย ยกเว้นคนไทยที่เดือดร้อน เราก็แถลงถึงคนไทยที่เดือดร้อน แล้วบอกว่าไม่เห็นแก่ความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่ายมันก็จบ

“ถ้าเกิดเราไปเข้าข้างฝ่ายหนึ่งคือเข้าข้างอิสราเอล แล้วประณามฮามาส ก็ทำให้ผลกระทบคือ ขั้นแรกอาจก่อให้เกิดเหตุก่อการร้ายในเมืองไทย ขั้นที่สองคือคนงานไทยในอิสราเอลอาจได้รับผลกระทบมากขึ้น รัฐบาลต้องรีบหันหลังกลับ ปิดให้ดี ถ้าสื่อลงประเด็นนี้มาก ๆ อาจทำให้รัฐบาลนี้ใจเย็น เราเป็นสื่อมวลชนธรรมดา สื่อตัวกะเปี๊ยกทำไมต้องทะนุถนอมรัฐบาล แต่เพื่อคนงานไทย เราจึงต้องให้สติ” สมเกียรติ กล่าว

ชี้ผู้นำประเทศควรมีทีมงานกรองข้อมูลก่อนโพสต์โซเชียลฯ

เมื่อถามว่า วิวัฒนาการของสื่อ ทุกคนมีสื่อหมด นายกฯก็มีสื่อในมือ และทวิตเตอร์หรือ X ก็เป็นพื้นที่ส่วนตัวอยู่แล้ว ทำไมถึงทำไม่ได้ สมเกียรติ มองว่า มันไม่ใช่หน้าที่ของผู้นำชาติ ถ้าเป็นคนธรรมดาทำไปก็ไม่มีผล แต่ผู้นำชาติต่าง ๆ ถ้าจะใช้โซเชียลมีเดีย ถ้าเป็นไปได้อย่าไปใช้แสดงความเห็นทางการเมือง เดี๋ยวเผลอ จะทวิตเอาใจพ่อแม่พี่น้องประชาชน ไม่ได้ ถ้าจะใช้สื่อต้องมีสำนักนายกฯ หรือทีมงานต่าง ๆ เป็นคนทำ

เมื่อซักว่า แต่ผู้นำประเทศส่วนใหญ่ใช้กันหมด ถ้าผู้นำไทยไม่ใช้จะถือว่าล้าสมัยหรือไม่ สมเกียรติ มองว่า สำหรับตนเป็นคนเก่า ไม่ใช้ ไปช้า ๆ ถ้าใช้ให้ดูทันสมัย มีทีมงานกลั่นกรอง ไม่เร็วขนาดนั้น เช่น นายกฯอินเดียก็ใช้ แต่เขามีทีมงานกลั่นกรอง ไม่เร็วแบบคนใจร้อน มีทีมงานเขียนให้และให้นายกฯดูก่อนโพสต์ เป็นต้น ทีมงานนายกฯไทยต้องเอาเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศมาร่วมด้วย เพื่อเตือนสติ ไม่ใช่ลูกน้องทางการเมืองอย่างเดียว เนื่องจากอาจเกรงใจนายกฯอาจไม่กล้า

พอใจการทำงานสื่อในปัจจุบัน แต่อยากให้แก้แบ็คกราวด์ข่าวให้ถูกต้อง

นอกจากนี้ สมเกียรติ ยังมองการทำงานของสื่อไทยในปัจจุบันว่า ค่อนข้างพอใจ แต่สื่อหลายรุ่น หลายแพลตฟอร์ม แต่ภาพรวมที่ดูทั้งสื่อยูทูบเบอร์เด็กหนุ่มสาว และสื่อกระแสหลัก 80% ขึ้นไป เพราะให้รายละเอียด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวดเร็ว วิ่งไล่ตามข่าวจากต่างประเทศ รวมถึงให้ความรู้เพิ่มเติมว่าเป็นมาอย่างไร แต่จะให้ประเมินลำบากอยู่ เพราะเยอะ ตนทำได้แค่ตั้งข้อสังเกต แต่อยากให้แก้ไขประวัติศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ไม่ใช่ยุคพันปีก่อนประวัติศาสตร์ นั่นคือเรื่องเก่า แต่เริ่มขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนหาดินแดนให้ชาวยิว ซึ่งสื่อไทยควรแก้ไขให้ถูกต้อง.