วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2558) เวลา 14.00 น. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ, นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการฯ และนายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษฯ ร่วมแถลงการณ์เรื่อง “เมื่อประชาชนหมดสิทธิ์อุทธรณ์/ ฎีกาคดีต่อศาลฎีกาในคดีแพ่ งและคดีอาญา (ยาเสพติด) กับข่าวที่ไม่ชอบด้วยจริ ยธรรมของสื่อสิ่งพิมพ์” และเรียกร้องให้สื่ อมวลชนขอโทษผู้ประกอบวิชาชี พทนายความ
โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ. แถลงว่า เป็นที่น่าเสียใจต่อสื่ อมวลชนสายงานหนังสือพิมพ์บางฉบั บที่ลงข่าวให้ร้ายวิชาชี พทนายความในทางที่สร้างความเข้ าใจผิดให้แก่ประชาชนผู้อ่าน กรณีสภาทนายความส่งผู้แทนไปชี้ แจงต่อกรรมาธิการวิสามัญกิ จการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยไม่เห็นด้วยกั บการเสนอกฎหมายของศาลยุติธรรมที ่ไปตัดสิทธิ ของประชาชนในการเสนอคดีต่อศาลฎี กา ซึ่งร่างแก้ไขประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ฉบับที่สภานิติบัญญัติได้รับไว้ เพื่อพิจารณานั้น หากผ่านใช้เป็นกฎหมายจะทำให้คดี แพ่งและคดีอาญา (ยาเสพติด) สิ้นสุดแค่ชั้นศาลอุทธรณ์ โดยศาลได้ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลั กการเดิมให้เป็นการต้องขออนุ ญาตต่อผู้พิพากษา 4 ท่านแทน ซึ่งสภาทนายความเห็นว่าขัดด้ วยหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนที ่องค์กรในประเทศไทยพึงถือปฏิบั ติ
ในที่ประชุมดังกล่าวไม่ได้มี การพูดถึงเรื่องค่าตอบแทนในชั้ นฎีกาเลย แต่สื่อกลับไปเสนอข่าวว่าเป็ นเพราะทนายความต้องการค่าจ้ างในชั้นฎีกานั้น เรื่องนี้ต้องทราบกันก่อนว่า การฎีกานั้นเป็นการเสนอฎีกาเป็ นลายลักษณ์อักษรเพื่ออุทธรณ์/ฎี กาในข้อกฎหมายและหรือข้อเท็จจริ งสู่การพิจารณาของศาลฎีกาไม่มี การสืบพยานเหมือนศาลชั้นต้น การจะไปเรียกค่าทนายความให้ มากมาย ไม่อาจเป็นไปได้ และค่าวิชาชีพทนายความนั้น ไม่ได้สูงมากมายในชั้นฎีกา ความจริงก็ยังน้อยกว่าค่ าธรรมเนียมศาลและการวางหลั กประกัน(เว้นแต่จะได้รับการอนุ ญาตจากศาลในการขอทุเลาคำบังคั บของศาลอุทธรณ์/ศาลชั้นต้น ศาลชำนัญพิเศษ) ในกรณีเป็นฝ่ายต้องอุทธรณ์/ฎีกา ประการสำคัญตัวความจะได้รั บการอธิบายอย่างละเอียดถึ งประเด็นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริ งที่จะใช้เป็นเหตุผลที่จะอุ ทธรณ์/ฎีกา ซึ่งเป็นสิทธิของตัวความที่จะพิ จารณาด้วยว่าจะอุทธรณ์/ฎีกาต่ อไปด้วยไหม ถ้าจะต้องใช้เงินวางศาลเรื่องค่ าธรรมเนียมศาล และวางหลักประกันในการต่อสู้คดี ต่อไปในจำนวนที่สูง
กรณีการกล่าวอ้างของสื่อมวลชนดั งกล่าวจึงเป็นการทำให้เกิ ดการเข้าใจผิดเป็นการละเลยหน้ าที่ของสื่อมวลชนที่จะต้ องสอบถามผู้ที่ถูกกล่าวหาอีกข้ างหนึ่งก่อนจะเสนอข่าว ไม่ใช่หูเบาฟังความข้างเดียวแล้ วก็เขียนส่งไปเลย สื่อมวลชนต้องเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระรักศักดิ์ศรี คงไม่ต้องไปเขียนเชียร์ใครหรื อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงได้รั บหรือฟังมาเท่านั้น จึงขอให้สื่อมีวิจารณญาณที่ดี สมกับที่บรรพชนของท่านได้ สะสมไว้อย่ารีบทำร้ายความดี ของบรรพชนสื่อให้ประชาชนเสื่ อมศรัทธาเลย
ทางสภาทนายความเองก็เคยมี ความตกลงที่จะให้ความช่วยเหลื อแก่สมาชิกของสภาการหนังสือพิ มพ์ในกรณีที่สมาชิกของท่านถูกคุ กคามต่อเสรีภาพในการทำข่าว เราจึงอยากจะขอให้สมาชิกหรือผู้ ประกอบการสื่อ สอบถามทางสภาทนายความซึ่งเป็ นสภาวิชาชีพก่อนว่าความจริงเป็ นอย่างไร สภาทนายความยินดีที่จะชี้แจงข้ อเท็จจริงให้ทราบ สื่อที่ลงพิมพ์ข้อความดังกล่ าวจึงควรที่ จะทำคำขอโทษสภาทนายความและผู้ ประกอบวิชาชีพทนายความ.