ประกาศ วารสารอิศราปริทัศน์ เรื่อง ขอเชิญส่งบทความเผยแพร่ในวารสารอิศราปริทัศน์

npct100

ประกาศ

วารสารอิศราปริทัศน์

เรื่อง ขอเชิญส่งบทความเผยแพร่ในวารสารอิศราปริทัศน์

 

“อิศราปริทัศน์” เป็นวารสารวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ที่ประยุกต์ใช้มาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ด้านนิเทศศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับงานวิจัยและบทบาททางวิชาการของคณะกรรมการความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน และเพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่บทความของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและวิชาชีพนิเทศศาสตร์อื่นๆ ที่มีคุณค่าและองค์ความรู้อันเกิดจากประสบการณ์ทางวิชาชีพในด้านต่างๆ

 

ขอบเขตการรับบทความ

บทความวิจัย (research article) บทความวิทยานิพนธ์ (thesis article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทความวิชาชีพ (professional article) เมื่อได้รับบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองอ่านเบื้องต้น จากนั้นส่งให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ เพื่อให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะ และอาจขอให้ผู้เขียนแก้ไขตามที่เห็นสมควร ยกเว้นบทความ “เรียนเชิญประจำฉบับ” จะข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรือตอบรับเพื่อตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ร่วมของผู้เขียนกับวารสารฯ เฉพาะการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อตอบรับแล้วจะต้องไม่ตีพิมพ์ที่อื่น หลังจากนั้น เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน กรณีบทความเคยนำเสนอในการประชุมวิชาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือพิมพ์เผยแพร่ในภาษาอื่นๆ ควรแจ้งไว้ให้ชัดเจน และขอสงวนสิทธิ์ปฏิเสธหากพบว่า ได้ตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อนแล้ว

 

แนวคิดหลักการรับบทความ

แนวคิดหลักพิจารณารับบทความเพื่อการเผยแพร่ในฉบับนี้ มีแนวคิดหลัก คือ “จริยธรรมสื่อ” (Media Ethics)โดยจะเปิดรับบทความ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557

 

กำหนดพิมพ์เผยแพร่

ปีละ 2 ครั้ง ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน  ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม ถึง ธันวาคม โดยการสนับสนุนจากสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

 

คำแนะนำการจัดเตรียมต้นฉบับ

การจัดพิมพ์บทความ

– จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวของบทความ 12 – 15 หน้ากระดาษ A4   (ไม่รวมรายการอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ระยะห่างจากขอบกระดาษ ด้านบน ด้านล่าง และด้านขวา 1 นิ้ว ส่วนด้านซ้าย 1 นิ้วครึ่ง ตั้งค่ากระจายตัวอักษร (alignment) แบบ Thai Distributed มีเลขหน้ากำกับ โดยกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบ single บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

– ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK พิมพ์ 1 คอลัมน์ โดยใช้ขนาดตัวอักษรดังนี้

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 22 พอยต์ ตัวหนา

ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวพิมพ์ใหญ่ ขนาด 16 พอยท์ ตัวหนา

ชื่อผู้เขียน ขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา

ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล์ของผู้เขียน (ฟุตโน้ต) ขนาด 12 พอยท์ ตัวธรรมดา

หัวข้อของบทคัดย่อ/ABSTRACT ขนาด 16 พอยท์ ตัวหนา

เนื้อหาของบทคัดย่อ/ ABSTRACT ขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา

คำสำคัญ/keywords ขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา

หัวเรื่อง ขนาด 18 พอยต์ วางตำแหน่งซ้ายสุดของหน้ากระดาษ ตัวหนา

หัวข้อหลัก ขนาด 16 พอยต์ ตัวหนา วางตำแหน่งให้ตรงกับย่อหน้า ตัวหนา

เนื้อเรื่อง ขนาด 15 พอยต์ ตัวธรรมดา ถ้าใช้ตัวอักษรแบบอื่น ก็ให้ใช้ขนาดตัวอักษรตามนี้

 

ส่วนประกอบของบทความ

  1. ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกคน พร้อมทั้งระบุตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งงานหน่วยงานที่สังกัด และอีเมล์ ที่ฟุตโน้ต
  3. บทคัดย่อ และ ABSTRACT ความยาวไม่เกิน 200 คำ คำสำคัญ และKeywords 3-5 คำ
  4. เนื้อเรื่อง

4.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย บทนำ (วัตถุประสงค์ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ

วิจัย) ทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย และอภิปรายผล

4.2 บทความวิชาการ /บทความปริทัศน์ /บทความวิชาชีพ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา

และบทสรุป

5. การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

6. ถ้ามีรูปภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ ต้องมีเลขหมายกำกับในบทความ อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ใช้รูปภาพที่มีความคมชัด และส่งต้นฉบับภาพถ่ายหรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบพร้อมบทความ

 

การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

  1. การอ้างอิงในเนื้อหา บอกแหล่งที่มาของข้อความใช้วิธีการอ้างอิงแบบนามปี โดยระบุชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย) ชื่อสกุลผู้เขียน (ภาษาต่างประเทศ) ปีพิมพ์ ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง เช่น

……………………… (ดรุณี หิรัญรักษ์, 2548) หรือ ……………………. (บรรยงค์ สุวรรณผ่อง และคณะ, 2550)

……………………… (Danis McQuail, 2001) หรือ …………………..(Gerbner & Gross, 2000)

  1. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวมแหล่งข้อมูลที่อ้างอิง มาแสดงรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ เรียงลำดับตามตัวอักษร ด้วยระบบ MLA (Modern Language Association Style)

 

วารสารและนิตยสาร

ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (ฉบับที่), หน้าที่ปรากฏบทความ.

ตัวอย่าง

อนุสรณ์ ศรีแก้ว. 2544. พระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย.

วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. 5 (3): 8-17.

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. 2540. พระอาจารย์สุบิน ปณีโต. นิตยสารสารคดี. 13 (154): 105-118.

Maxwell E. McCombs andDonald L.Shaw. 1972. The Agenda-Setting Function of Mass Media.

Public Opinion Quarterly. 1972. Vol.36: 177-197.

 

หนังสือ

ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ดรุณี หิรัญรักษ์. 2542. การสื่อสารมวลชนโลก. กรุงเทพฯ: เอเชียแปซิฟิก มีเดีย.

รุ่งมณี เมฆโสภณ. 2552. ถกแขมร์ แลเขมร. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.

Stanley J. Baran & Dennis K. Davis. 1995. Mass Communication Theory: Foundations, Ferment,

and Future. New York. Wadsworth Publishing.

 

รายงานการประชุม บทความ/เรื่อง หนังสือรวมเรื่อง รายงานประจำปี หรือสัมมนาวิชาการ

ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม, วันเดือนปี สถานที่จัดงาน. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

กวี จงกิจถาวร. 2550. การถูกเซ็นเซอร์และการเซ็นเซอร์ตัวเอง. การใช้เสรีภาพกับความรับผิดชอบของ

สื่อมวลชนไทยท่ามกลางวิกฤตประเทศ. ครบรอบ 10 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

หน้า 37-41. กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี. 2543. สื่อมวลชนกับการสื่อสารเพื่อประชาสังคม. พลเมืองไทย ณ จุด

เปลี่ยนศตวรรษ. หน้า 80-108. กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.

โพยม วรรณศิริ, 2545. แนวทางสร้างกระบวนการยุติธรรมให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน.

ในสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวของสื่อมวลชนกับกระบวนการยุติธรรม. หน้า 24-30.

20 สิงหาคม 2545 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ:

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

คณะทำงานการจัดทำเอกสาร. 2550. รายงานสรุปการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. 27 มีนาคม 2550 โรงแรมเชียงใหม่ออคิด. เชียงใหม่: สำนักนายกรัฐมนตรี.

วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา. สถาบันการศึกษา.

ตัวอย่าง

กิ่งปรางค์ สมจิตต์, 2542. ปัจจัยและแนวทางที่มีอิทธิพลในการคัดเลือกภาพข่าวอาชญากรรม

ที่มีเนื้อหาความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ชื่อผู้เขียนและนามสกุล. ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต. ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ……, จาก URL address

ตัวอย่าง

Morgan Cheeseman. 2010. The Potter Box: Ethical Guidance, in Potter Box on. University of

Kansas. Retrieved September 09, 2010, from

http://ethichelp.wordpress.com/2010/09/21/the_potter_box

 

การส่งต้นฉบับ

ต้นฉบับ 1 ชุด พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล ระบุชื่อและข้อมูลของผู้เขียนในจดหมายนำ ข้อมูลที่ระบุได้แก่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงาน คุณวุฒิการศึกษา (ชื่อปริญญาและสถาบัน) สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีมีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้ระบุผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author)

จัดส่งมายัง บรรณาธิการ วารสารอิศราปริทัศน์ 538/1 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 และส่งบทความดังกล่าว พร้อมจดหมายนำ มาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ isramediareview@gmail.com

#